"ชักพระ" ประเพณีออกพรรษาของภาคใต้ ตอนที่ 1

ใกล้ถึงวันออกพรรษาแล้ว แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทยก็จะมีประเพณีต้อนรับการออกพรรษา ที่แตกต่างกันไป เรามาดูกันว่า ชาวพุทธในภาคใต้เขาทำอะไรกันบ้าง http://winne.ws/n8676

5.1 พัน ผู้เข้าชม

ชักพระบก

"ชักพระ" ประเพณีออกพรรษาของภาคใต้ ตอนที่ 1

ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีของชาวภาคใต้ โดยจะปฏิบัติกันในช่วงออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑) ซึ่งมีความเชื่อว่า ครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสร็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา พอถึงช่วงออกพรรษา พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ทำให้ชาวบ้านมีความปราบปลื้มมาก จึงอันเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกและแห่ไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยสมัยพุทธกาลชาวบ้านจึงนำพระพุทธรูปมาแห่สมมุติแทนพระพุทธองค์ ประเพณีชักพระหรือลากพระมีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิของศาสนาพราหมณ์ที่นิยมนำเทวรูปออกแห่ในโอกาสต่างๆ ต่อมาชาวพุทธได้นำมาดัดแปลงให้ตรงกับศาสนาพุทธ ประเพณีชักพระหรือลากพระได้ถ่ายทอดมาถึงประเทศไทยภาคใต้ได้รับและนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวใต้มีความเชื่อว่าการลากพระจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลหรือเป็นการขอฝน เพราะผู้ประกอบพิธีส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม “การชักพระหรือลากพระของชาวใต้มี ๒ ประเภท คือ

 ลากพระทางบกกับลากพระทางน้ำ” การลากพระทางบก คือ การอันเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนนมพระ

(คือยานพาหนะที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปในการลากพระทางบก) หรือบุษบกแล้วแห่ไปยังจุดหมาย การลากพระทางบกเหมาะกับวัดที่อยู่ห่างไกลแม่น้ำลำคลอง

การลากพระทางน้ำคือ การอันเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ขึ้นประดิษฐานบนเรือพระแล้วแห่ไปยังจุดหมาย การลากพระทางน้ำเหมาะกับวัดที่อยู่ใกล้แม่น้ำ

"แต่การลากพระทางน้ำ เรือพายของชาวบ้านจะไม่สามารถเข้าใกล้เรือพระได้ ชาวบ้านที่ต้องการทำบุญด้วยขนมต้ม จะใช้วิธีปาต้มหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ซัดต้ม” ”ในวันชักพระหรือลากพระจะมีการตักบาตรหน้าล้อ โดยชาวบ้านจะเตรียมอาหารมาใส่บาตร ซึ่งบาตรนั้นจะเตรียมไว้หน้าพระลาก การตักบาตรหน้านมพระเรียกว่า “บาตรหน้าล้อ” หลังจากตักบาตรเสร็จแล้วจะอันเชิญพระลากประดิษฐานบนบุษบก และเมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมต้ม (ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวเหนียวและห่อด้วยใบพ้อ) มาใส่บาตรและแขวนไว้หน้านมพระ และเมื่อมีการลากพระถึงหน้าบ้านใครคนในบ้านนั้นก็จะนำขนมต้มออกมาใส่บาตร

เมื่อเรือพระทุกลำมาถึง ณ จุดหมายแล้ว จะมีการประกวดเรือพระ โดยแยกออกเป็น ๒ ประเภทคือ เรือพระบกและเรือพระน้ำ พอถึงเวลาบ่ายหรือเย็นก็จะลากเรือพระกลับวัด แต่ในปัจจุบันเรือพระจะจอดไว้ประมาณ ๓-๕ วันถึงจะลากกลับวัด เนื่องจากว่ามีประชาชนร่วมกันทำบุญเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการลากพระนิยมทำกันแทบทุกจังหวัดของภาคใต้ แต่การลากพระที่มีชื่อเสียงก็เช่น ที่อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นต้น

ที่มา : ฐิติรัฐน์ & คามิน ทีมหนังสือรวมเรื่องประเพณีไทย 4 ภาค

ขอบคุณเรื่องจาก ประเพณีไทย.com

ชักพระน้ำ

"ชักพระ" ประเพณีออกพรรษาของภาคใต้ ตอนที่ 1

ชักพระน้ำ (ข้ามทะเล)

"ชักพระ" ประเพณีออกพรรษาของภาคใต้ ตอนที่ 1

ต้มซัด หรือข้าวต้มลูกโยน ขนมคู่่ประเพณีออกพรรษาของภาคใต้

"ชักพระ" ประเพณีออกพรรษาของภาคใต้ ตอนที่ 1
แชร์