วิธูรบัณฑิต กับ “ราชวสดีธรรม” หลักธรรมะปฏิบัติของข้าราชการที่ดีงาม โดย ดร.วิษณุ เครืองาม
วิธูรบัณฑิต กับ “ราชวสดีธรรม” : พระชาติ 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนเป็นพระพุทธเจ้า ถือเป็นพระชาติสำคัญที่สุดเรียกว่า “ทศชาติ” ซึ่งมักวาดภาพไว้ตามฝาผนังโบสถ์วิหาร แต่ที่สำคัญที่สุดคือพระชาติที่ 10 เพราะ http://winne.ws/n7819
วิธูรบัณฑิต โดย ดร.วิษณุ เครืองาม
คนไทยคุ้นกับเรื่องพระเวสสันดรมากที่สุดในบรรดาพระชาติทั้งหลายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เรื่องราวใน “พระชาติ” ต่าง ๆ นั้น เรียกว่า “ชาดก” ชีวิตของพระพุทธเจ้าในชาดกนั้น ๆ เรียกว่า “พระโพธิสัตว์” ซึ่งบางพระชาติพระโพธิสัตว์ก็เป็นคน บางพระชาติก็เป็นสัตว์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เมื่อเดินผ่านไปเห็นหมูหมากาไก่หรือแมว ท่านจะค่อย ๆ เลี่ยงไป ไม่ข้าม ไม่ไล่ โดยให้เหตุผลว่า “ใครจะไปรู้ว่าสัตว์นี้อาจเป็นพระโพธิสัตว์องค์ใดกำลังมาเสวยพระชาติอยู่ก็ได้”
พระชาติ 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะมาเป็นพระพุทธเจ้า ถือเป็นพระชาติสำคัญที่สุดเรียกว่า “ทศชาติ” ซึ่งมักวาดภาพไว้ตามฝาผนังโบสถ์วิหาร แต่ที่สำคัญที่สุดคือพระชาติที่ 10 เพราะใกล้ความเป็นพระพุทธเจ้าแค่เอื้อม เราถือว่าเป็นมหาชาติดังที่มีประเพณีเทศน์มหาชาติกลางพรรษามาหลายร้อยปีแล้ว พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ประสูติเป็นพระเวสสันดรบำเพ็ญทานบารมี พ้นจากพระชาตินี้ก็จะไม่กลับมาเป็นพระโพธิสัตว์อีกแล้ว เพราะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว
อันที่จริงพระชาติทั้ง 9 ก่อนเป็นพระเวสสันดรก็นับว่าสำคัญไม่ย่อหย่อนกว่ากัน คนโบราณจะจำเรื่องราวได้ครบทศชาติ พระชาติที่ 1 ทรงเป็นพระเตมีย์ซึ่งอดทนอดกลั้นไม่ยอมพูด สมัยพลเอกเปรมเป็นนายกฯ ท่านไม่ใคร่พูดอะไร ใครว่าก็ไม่โต้ตอบ จน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เหน็บเอาว่า “สงสัยท่านเป็นพระเตมีย์” นั่นแหละคนไทยยุคนั้นจึงตื่นเต้นสอบถามกันยกใหญ่ว่าพระเตมีย์เป็นใคร
พระชาติที่ 3 เป็นพระสุวรรณสาม พระชาติที่ 4 เป็นพระเนมิราช พระชาติที่ 5 เป็นพระมโหสถ พระชาติที่ 6 เป็นพระภูริทัต พระชาติที่ 7 เป็นพระจันทกุมาร พระชาติที่ 8 เป็นพระนารท 6 พระชาตินี้คนไม่ใคร่รู้จัก ใครช่วยเผยแพร่กิตติศัพท์ที
ข้ามไปพระชาติที่ 10 ก่อนก็ได้ ทรงเป็นพระเวสสันดร เรื่องนี้เป็นชีวิตจิตใจของคนไทยอยู่แล้ว ชื่อตัวละครในพระชาตินี้เช่นพระเวสสันดร พระนางมัทรี สองกุมารกัณหาชาลี ตาเฒ่าชูชก คนไทยขึ้นใจดี ยายผมอ่านหนังสือไม่แตก แต่เล่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดกได้เป็นฉาก ๆ ยังกับเกิดทันสมัยนั้น
ระหว่างพระชาติที่ 8 (พระนารท) กับพระชาติที่ 10 (พระเวสสันดร) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติที่ 9 เป็นวิธูรบัณฑิต พระชาติที่ 9 นี้ถือว่าสำคัญเพราะอยู่ใกล้กับมหาชาติ ยิ่งคนที่เป็นข้าราชการก็ยิ่งควรรู้จักไว้ ถ้า ก.พ. จะหาคนที่เป็นแบบอย่างของข้าราชการประจำที่ดี ผมขอแนะนำให้ยกย่องวิธูรบัณฑิต ที่จริงรางวัลข้าราชการดีเด่นของประเทศไม่ควรเป็น “ครุฑทองคำ” แต่ควรทำเป็นเหรียญวิธูรบัณฑิตมอบให้จะเท่กว่า
พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องวิธูรบัณฑิตแก่ที่ประชุมสงฆ์ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถีใจความว่าในพระชาติที่ 9 ก่อนจะเป็นพระเวสสันดร พระองค์ได้เกิดเป็นข้าราชการในราชสำนักพระเจ้าธนัญชัยแห่งกรุงอินทปัตถ์ แคว้นกุรุนามว่า วิธูรบัณฑิต เป็นคนมีวาจาไพเราะอ่อนหวาน มีความรู้ในขนบธรรมเนียมของข้าราชการอย่างดี สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการปฏิบัติราชการได้เพราะเป็นคนซื่อตรง เที่ยงธรรม ว่าไปแล้ววิธูรบัณฑิตยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือธรรมาภิบาลในการทำราชการนั่นเอง
ต่อมาปุณณกยักษ์ซึ่งแปลงกายเป็นมาณพ มาท้าพนันเล่นสกากับพระเจ้าธนัญชัย เดิมพันคือถ้าพระเจ้าธนัญชัยแพ้ ต้องยอมยกสมบัติทุกอย่างให้ตามที่ขอ พระเจ้าธนัญชัยแพ้ ปุณณกยักษ์ขอวิธูรบัณฑิต แต่พระเจ้าธนัญชัยหวงจึงเถียงว่า ข้าราชการผู้นี้ไม่ใช่สมบัติแต่เป็นญาติ วิธูรบัณฑิตกลับถวายความเห็นอย่างเที่ยงธรรมว่า ข้าราชการทั้งหลายย่อมเป็นข้าแผ่นดิน เปรียบเสมือนสมบัติของพระราชาจึงต้องยกให้ยักษ์
วิธูรบัณฑิตขอเวลา 3 วันเพื่อลาลูกเมียและสอนการปฏิบัติตัวยามไม่มีพ่อ โดยแสดงธรรมชื่อ “ราชวสดีธรรม” แปลว่าธรรมะซึ่งข้าราชการพึงปฏิบัติ ใจความของราชวสดีธรรมมีว่า ข้าราชการนั้นถ้ายังไม่ได้ยศหรือตำแหน่ง แสดงว่าเจ้านายยังไม่ทราบความสามารถ ถ้าเจ้านายยังไม่ใช้งานหรือสับเปลี่ยนหน้าที่ไปทำงานอื่น ก็จงอย่าน้อยใจต้องถือว่าทุกตำแหน่งหน้าที่มีความสำคัญ อย่าเกี่ยงงอนว่าเล็กน้อย พึงปฏิบัติงานทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
1. ข้าราชการต้องฉลาดรอบคอบ หมั่นศึกษาพัฒนาตัวเองหาความรู้ใส่ตัว อย่าเกียจคร้าน แต่อย่าเหิมเกริมว่าเก่ง อย่าตีตนเสมอเจ้านาย อย่าฉ้อโกงชาติบ้านเมือง อย่าเมาสุราอย่าติดผู้หญิงจนเสียงาน อย่าเกียจคร้าน อย่าริษยาเพื่อนข้าราชการด้วยกันที่ได้ดี
2. ข้าราชการต้องไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ไม่พูดมากเพ้อเจ้อบ้าน้ำลาย แต่ก็ต้องไม่นิ่งซื่อบื้อไม่อธิบายชี้แจงถูกผิดให้คนทราบ ข้าราชการต้องเก็บอารมณ์ไม่ขี้โกรธฉุนเฉียว ไม่ปากพล่อย ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เข้ากับคนได้ดี ถ้ามีอำนาจต้องไม่เล่นพวกแต่งตั้งลูก หรือเครือญาติให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ต้องไม่โลภ ผิดต้องว่าผิดถูกต้องว่าถูก
สอนจบปุณณกยักษ์ก็พาวิธูรบัณฑิตเหาะไปถวายเจ้านาย (เอาไปฆ่า) แต่ลงท้ายวิธูรบัณฑิตก็รอด เพราะทุกคนเห็นว่าเป็นผู้มีสัจจะ มีคุณธรรม เป็นข้าราชการที่ดี สิ้นพระชาตินี้แล้ว วิธูรบัณฑิตไปเกิดเป็นพระเวสสันดร
ที่จริงเรื่องราวของวิธูรบัณฑิตไม่น่าสนใจและไม่สนุกเท่าไรนัก แต่ราชวสดีธรรมที่วิธูรบัณฑิต แสดงในชาดกเรื่องนี้เป็นข้อปฏิบัติอันยิ่งใหญ่จริง ๆ สำหรับข้าราชการ เห็นจะเป็นครั้งเดียวที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องข้าราชการอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง คนไทยจดจำหัวข้อธรรมนี้มานานแล้ว และแทรกไว้ในเรื่องต่าง ๆ สืบมา เช่น พาลีสอนน้องในรามเกียรติ์ หลายข้อตรงกับวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน หลายข้อตรงกับ Good Governance ของฝรั่ง
ดร.วิษณุ เครืองาม, จันทร์สนุกศุกร์สนาน เดลินิวส์ออนไลน์, จันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556
http://www.dailynews.co.th/article/7/218975
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/AllForNostalgia/posts/383864318382006?comment_tracking=%7B%22tn%22%3A%22O%22%7D
'ข้าพเจ้าไม่เคยทำความ ชั่วจึงไม่กลัวความตายข้าพเจ้ามีหลักธรรม และมีปัญญา เป็นเครื่องประกอบตัว จึงไม่หวั่น เกรงภัยใด ๆ ทั้งสิ้น'
วิธุรบัณฑิตก็แสดงธรรมชื่อว่า ราชวสดีธรรมอันเป็นธรรมสำหรับข้าราชการ จะพึงปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงานและเพื่อเป็นหลักสำหรับ ยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่และการแก้ไข ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
วิธุรบัณฑิตกล่าวในที่สุด ว่า
'เป็นข้าราชการต้องเป็นผู้สุขุมรอบคอบ ฉลาดในราชกิจ สามารถจัดการต่าง ๆ ให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย รู้จักกาล รู้จักสมัย ว่าควรปฏิบัติอย่างไร'
เมื่อได้แสดงราชวสดีธรรมแล้ว วิธุรบัณฑิต จึงได้ออกเดินทางไปกับปุณณกยักษ์ ในระหว่าง ทางปุณณยักษ์คิดว่า เราเอาแต่หัวใจของวิธุร บัณฑิตไปคงจะสะดวกกว่าพาไปทั้งตัว คิดแล้ว ก็พยายามจะ ฆ่าวิธุรบัณฑิตด้วยวิธีต่างๆ แต่ ก็ไม่เป็นผล ในที่สุด
วิธุรบัณฑิตจึงถามว่า 'ความจริงท่านเป็นใคร ท่านต้องการจะฆ่าข้าพเจ้าทำไม'
ปุณณกยักษ์จึงเล่าความเป็นมาทั้งหมด วิธุรบัณฑิตหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญาว่า ที่แท้นั้นพระ นางวิมลา ปราถนาจะได้ฟังธรรมอันเป็นที่ เลื่องลือของตนเท่านั้น จึงคิดว่าควรจะแสดง ธรรมแก่ปุณณกยักษ์ เพื่อมิให้หลงผิด กระทำ การอันมิควรกระทำ
ครั้นแล้ววิธุรบัณฑิต จึงได้แสดงธรรมชื่อว่า สาธุนรธรรม ธรรม ของคนดี แก่ปุณณกยักษ์ มีใจความว่า บุคคลที่มีอุปการคุณ ชื่อว่าเป็นเผาฝ่ามือ อันชุ่มเสีย แลัวยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้าย ต่อมิตรด้วย
อนึ่ง ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของ สตรีที่ประพฤติการอันไม่สมควร ปุณณกยักษ์ได้ฟังธรรม ก็รู้สึกในความผิดว่า วิธุรบัณฑิตมีอุปการคุณแก่ตน ไม่ควรจะกระทำร้ายหรือแม้ แต่คิดร้ายต่อวิธุรบัณฑิต ปุณณก ยักษ์จึงตัดสินใจว่าจะพาวิธุรบัณฑิตกลับ ไปยังอินทปัตต์ ตนเองจะไม่ตั้ง ความปรารถนา ในนางอริทันตีอีกต่อไปแล้ว
เมื่อวิธุรบัณฑิต ทราบถึงการตัดสินใจของปุณณกยักษ์จึง กล่าวว่า 'นำข้าพเจ้าไปนาคพิภพเถิด ข้าพเจ้า ไม่เกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่เคย ทำความชั่ว ไว้ในที่ใด จึงไม่เคยรู้สึกกลัวว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไร'
ปุณณกยักษ์จึงนำวิธุรบัณฑิตไปเฝ้า พญานาควรุณในนาคพิภพ เมื่ออยู่ต่อหน้า พญานาควรุณ วิธุรบัณฑิต ทูลถามว่า สมบัติในนาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้มา อย่างไร พญานาควรุณตรัสตอบว่า ได้มา ด้วยผลบุญ เมื่อครั้งที่ได้บำเพ็ญธรรม รักษาศีลและให้ทานในชาติก่อนที่เกิด เป็นเศรษฐี วิธุรบัณฑิตจึงทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ก็แสดงว่าพญานาควรุณทรงตระหนักถึง กรรม และผลแห่งกรรมดี ขอให้ทรงประกอบ กรรมดีต่อไป
แม้ว่าในเมืองนาคนี้จะไม่มีสมณ ชีพราหมณ์ที่พญานาคจะบำเพ็ญทานได้ ก็ขอให้ทรงมีเมตตาแก่บุคคล ทั้งหลายใน เมืองนาคนี้ อย่าได้ประทุษร้ายแก่ผู้ใดเลย หากกระทำได้ดังนั้นก็จะได้เสด็จไปสู่เทวโลก ที่ดียิ่งกว่านาคพิภพนี้ พญานาควรุณได้ฟังธรรมอันประกอบด้วย วาจาไพเราะของวิธุรบัณฑิตก็มีความพอ พระทัยเป็นอันมาก และตรัสให้พาพระนางวิมลา มาพบวิธุรบัณฑิต
เมื่อพระนางทอดพระเนตร เห็นวิธุรบัณฑิตก็ได้ถามว่า 'ท่านตกอยู่ใน อันตรายถึงเพียงนี้ เหตุใดจึงไม่มีอาการ เศร้าโศกหรือหวาดกลัวแต่อย่างใด'
วิธุรบัณฑิตทูลตอบว่า 'ข้าพเจ้าไม่เคยทำความ ชั่วจึงไม่กลัวความตาย ข้าพเจ้ามีหลักธรรม และมีปัญญา เป็นเครื่องประกอบตัว จึงไม่หวั่น เกรงภัยใด ๆ ทั้งสิ้น'
พญานาควรุณและพระนางวิมลาพอพระทัย ในปัญญาและความมั่นคงในธรรมของวิธุรบัณฑิต
พญานาควรุณจึงตรัสว่า 'ปัญญานั้นแหละคือหัวใจ ของบัณฑิต หาใช่หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อไม่'
จากนั้นพญานาควรุณก็ได้ยกนางอริทันตี ให้แก่ปุณณกยักษ์ ผู้ซึ่งมีดวงตาสว่างไสว ขึ้นด้วยธรรมของวิธุร บัณฑิต พ้นจากความหลง ในสตรีคือนางอริทันตี แล้วสั่งให้ปุณณกยักษ์พา วิธุรบัณฑิตไปส่งยังสำนักของ พระราชาธนัญชัย พระราชาทรงโสมนัสยินดีอย่างยิ่ง ตรัสถาม วิธุรบัณฑิตถึงความเป็นไปทั้งหลาย วิธุรบัณฑิต จึงทูลเล่า เรื่องราวทั้งสิ้น และกราบทูลในที่ สุดท้ายว่า
' ธรรมเป็นสิ่งสูงสุด บุคคลผู้มี ธรรมและปัญญาย่อมไม่หวั่นเกรงภยันตราย ย่อมสามารถเอาชนะภยันตรายทั้งปวงด้วย คุณธรรมและด้วยปัญญาของตน การแสดงธรรม แก่บุคคล ทั้งหลายนั้นคือการแสดงความจริง ให้ประจักษ์ด้วยปัญญา '
ขอบคุณภาพจากgoogle.com ข้อมูลจาก www.dhammathai.org