ไผ่...พืชมหัศจรรย์สารพัดประโยชน์
ไผ่ ได้รับสมญานามใหม่ว่าVegetal Steel” – เหล็กกล้าพืช วัสดุก่อสร้างของศตวรรษที่ 21 http://winne.ws/n6049
แม้ว่าไผ่จะขึ้นกระจายกว้างไกลอยู่ทั่วโลก แต่คนเอเชียมีวัฒนธรรมไผ่โดดเด่นกว่าใคร จนไผ่กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเอเชีย เป็นความงาม เรียบง่าย เต๋า เซน และเศรษฐกิจพอเพียง
เนื่องจากเรามักจะมองเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีชีวิตแสนสุขของคนมักน้อยแห่งวันวาน พอให้นึกถึงไม้ไผ่ เราก็จะเห็นแต่ภาพเครื่องจักสานและกระท่อมโย้ปลายนา ถ้ารวยเก๋มีรสนิยมวิไล ก็อาจนำไปประกอบบรรยากาศสปารีสอร์ต เพื่อชื่นชมได้ปลื้มกับสัมผัสรักษ์ธรรมชาติเรียบๆ ง่ายๆ ของตัวเองในราคาหลักหมื่น
แต่ถ้าคุณกูเกิ้ลเข้าไปค้นหาแบมบูแก็ตเจ๊ต และนวัตกรรมโมเดิร์นจากไผ่ คุณจะพบว่าไผ่กำลังเป็นวัตถุดิบที่ฮ๊อตที่สุดในยุคโลกร้อน
ไผ่เป็นหญ้ายักษ์โบราณที่มีความแข็งแรงของไม้และความโอนอ่อนของต้นหญ้าผสมผสานในเนื้อเดียวกัน เหนียว แกร่ง เบา มีสปริงยืดหยุ่นไปพร้อมๆ กัน อันนี้เป็นคุณสมบัติของยอดบู๊ลิ้ม เป็นเคล็ดลับของศิลปะการต่อสู้ตะวันออก ที่วิศวกรและสถาปนิกทั่วโลกกำลังหลงไหล ไซมอน เวเลซ สถาปนิกชาวโคลัมเบีย ผู้สร้างโครงสร้างไม้ไผ่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อปีที่แล้วที่เม็กซิโกซิตี้ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 55,000 ตารางฟุต ถึงกับตั้งสมญานามไม้ไผ่ว่า “Vegetal Steel” – เหล็กกล้าพืช พร้อมกับบอกว่า “ลืมเหล็กกล้าและคอนกรีตไปได้เลย วัสดุก่อสร้างของศตวรรษที่ 21 ดูท่าว่าจะเป็นไม้ไผ่”
ที่สำคัญ ไผ่เป็นพืชบกที่โตเร็วที่สุดในโลก บางชนิดโตได้เกือบ 1 เมตรต่อวัน และสามารถปลูกเป็นสวนป่าใช้งานได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี โดยไม่ทำลายดิน มันจึงเป็นวัสดุที่สามารถจัดการให้ยั่งยืนได้ไม่ยาก เพราะผลิตหมุนเวียนในพื้นที่จำกัดได้เร็ว
จุดอ่อนของไผ่ที่ทำให้คนยุคโมเดิร์นศตวรรษ 20 ไม่คิดใส่ใจมันมากนัก อยู่ที่ปัญหาอายุการใช้งาน ราชสีห์แพ้หนูฉันใด ไผ่ก็แพ้แมลงฉันนั้น โจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรไม่ให้บ้านไม้ไผ่ผุพังภายใน 5-6 ปี
ปัจจุบัน เทคโนโลยีการทรีตไม้ไผ่จึงก้าวหน้าขึ้นมากในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา มีงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ด้วยไม้ไผ่ในรูปแบบใหม่ๆ
ในขณะนี้...จักรยานไม้ไผ่เป็นได้เพียงของเล่นคนรวยในยุโรป ที่แอฟริกามันกำลังเป็นพาหนะทางเลือกของคนจน เป็นผลงานของโครงการจักรยานไม้ไผ่ (Bamboo Bike Project) ริเริ่มโดยกลุ่มนักศึกษาวิศวะมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ล่าสุด มีการคิดประดิษฐ์เครื่องลนไฟไม้ไผ่ ไม่ต้องนั่งทำมือทีละท่อนอีกแล้ว ที่สำคัญ มอเตอร์เครื่องลนไฟนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ที่มาhttp://www.cozy-plus.com/article/1/ไผ่-วัตถุดิบศตวรรษที่21