“หุ่นจำลองหัวสุนัข” จากสัตวแพทย์ จุฬาฯคว้ารางวัล Special Award

หุ่นจำลองกายวิภาคหัวสุนัขเป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน ทางด้านกายวิภาคซึ่งต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ที่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง http://winne.ws/n28463

909 ผู้เข้าชม
“หุ่นจำลองหัวสุนัข” จากสัตวแพทย์ จุฬาฯคว้ารางวัล Special Award

นวัตกรรม “หุ่นจำลองปฏิสัมพันธ์กายวิภาคหัวสุนัขเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง” (Canine Head Anatomy Interaction Model for Self-Learning) ผลงานของ ผศ.สพ.ญ.ดร.ภาวนา เชื้อศิริ ภาควิชา กายวิภาคศาสตร์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัล Special Award  และเหรียญทองในงาน International Warsaw Inventions show(IWIS) 2021 ที่ประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป ซึ่งปีนี้จัดในรูปแบบออนไลน์ มีผลงานส่งเข้าประกวดถึง 400 รายการ

สำหรับที่มาของ “หุ่นจำลองปฏิสัมพันธ์กายวิภาคหัวสุนัขเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง” ผศ.สพ.ญ.ดร.ภาวนาเปิดเผยว่า หุ่นจำลองกายวิภาคหัวสุนัขเป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน ทางด้านกายวิภาคซึ่งต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ที่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์ของร่างอาจารย์ใหญ่ หรือการใช้สารเคมีเพื่อคงคุณภาพของร่างอาจารย์ใหญ่ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้เรียนและผู้สอนได้ จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหุ่นจำลองกายวิภาคหัวสุนัขขึ้นมาเพื่อทดแทนหรือใช้เสริมการใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ในการเรียนการสอนนิสิตสัตวแพทย์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้เรียนและผู้สอนเป็นอย่างดี  นิสิตสามารถเห็นหุ่นจำลองได้อย่างชัดเจนพร้อมๆ กัน และสัมผัสได้ด้ว หุ่นจำลองดังกล่าว มีผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย นายภักดี สุดถนอม นางจันทิมา อินทรปัญญา จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ด.ช.กฤตยชญ์ เชื้อศิริ นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ 

จุดเด่นของนวัตกรรมหุ่นจำลองกายวิภาคหัวสุนัข ขนาดของหุ่นจำลองที่ใหญ่เท่ากับร่างอาจารย์จริงๆ วัสดุที่ใช้จะแตกต่างหุ่นจำลองเดิมที่เคยทำมา มีการติดตั้งวงจรในหุ่นจำลองกายวิภาคให้สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ รวมถึงการออกแบบให้มีลักษณะของการฝึกทำหัตถการได้ด้วย เพื่อเป็นการฝึกขั้นพื้นฐานให้นิสิตก่อนจะฝึกกับร่างอาจารย์ใหญ่จริงๆ“นวัตกรรมนี้มีการพัฒนาจากงานวิจัยที่เคยทำมาให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานมีความยากเพราะต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดทุกขึ้นตอน วัสดุที่นำมาใช้คือโฟม และฝาขวดน้ำพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งนำมาสร้างคุณค่าในการทำโมเดลมีลักษณะเป็นสามมิติสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งในต่างประเทศยังไม่มีผลงานสื่อเพื่อการเรียนการสอนเหมือนกับที่เราทำ” ผศ.สพ.ญ.ดร.ภาวนากล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ บ้านเมือง

แชร์