ENERGY: หมู่บ้านพึ่งพาตัวเองในเนเธอร์แลนด์ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันไมโครกริดจะจ่ายพลังงานให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้า หรือเครื่องให้ความร้อนโดยตรงและแยกกัน ซึ่งมันทำให้ระบบจ่ายไฟเป็นที่ต้องการ และทำงานหนักมาก http://winne.ws/n28373

1.5 พัน ผู้เข้าชม
ENERGY: หมู่บ้านพึ่งพาตัวเองในเนเธอร์แลนด์  ผลิตไฟฟ้าใช้เอง

        การหันไปใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ชุมชนเล็ก ๆ ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งงานวิจัยใหม่เผยว่า ระบบสมาร์ทไมโครกริดในชุมชนเล็ก ๆ เหล่านี้สามารถทำให้คนในชุมชนเข้าถึงไฟฟ้าที่ต้องการทั้งหมดได้

       ไมโครกริด คือ คือสถานีไฟฟ้าย่อยในแต่ละพื้นที่ เช่น ในจังหวัด ชุมชน หรือบนเกาะต่าง ๆ ซึ่งจะมีการผลิตไฟฟ้าแบบอิสระในบริเวณนั้น หรืออาจจะเชื่อมโยงกับสถานีใหญ่ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการผสมผสานระหว่างไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ให้เสมือนหนึ่งเป็นโรงไฟฟ้าโรงเดียว ดูแลและรับผิดชอบกันเองในบริเวณนั้น ๆ

        เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่บุกเบิกการผลิตไฟฟ้าจากไมโครกริดที่ทำให้หมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่งสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนใช้เองได้ หมู่บ้านและชุมชนกริดเหล่านี้ได้รับการกระจายอำนาจ และเป็นเจ้าของและดำเนินการการผลิตไฟฟ้าเอง

       มากไปกว่านั้น ในชุมชนยังมีการบำบัดน้ำ ให้สามารถนำน้ำที่ใช้แล้วมารีไซเคิล ไปใช้ในการสร้างก๊าซชีวภาพต่อไปได้

       ซึ่งนอกจากตัวสถานีไฟฟ้าและโรงบำบัดน้ำ การที่ชุมชนแห่งหนึ่งจะกลายเป็นชุมชนสมาร์ทกริดได้ ในชุมชนจะต้องประกอบไปด้วยหลังคาบ้านที่ติดด้วยแผงโซลาร์เซลล์ที่ครัวเรือนเหล่านี้จะเอาไปในบ้านเองได้ (หลังละ 22 แผง) แต่แต่ละหลังต้องมีการใช้พลังงานที่น้อย มีรถยนต์ไฟฟ้าแทนพร้อมแท่นชาร์จด้วยที่ชุมชนเป็นเจ้าของเอง และหันมาใช้พลังงานสะอาดอื่น ๆ

       ยกตัวอย่างเช่น ชุมชน Aardehuizan-Olst ใน Olst ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในชุมชนจะมีระบบประปา สุขาภิบาล และโรงบำบัดน้ำเสียของตัวเอง อาคารบ้านเรือนทุกหลังจะออกแบบให้ต้องใช้ความร้อนน้อยที่สุด และรับความร้อนจากมวลความร้อนด้านนอกอาคารจากการที่ด้านของอาคารที่หันไปทางใต้จะบุด้วยกระจกตลอดด้าน ส่วนด้านที่เหลือทั้งสามจะทำจากยางล้อดิน รีไซเคิล และผสมด้วยด้วยดินจำนวนมาก เป็นผลให้อุณหภูมิภายในของแต่ละห้องคงที่ตลอดทั้งปีที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องทำความร้อนเพิ่ม

       ซึ่งวัสดุธรรมชาติเหล่านี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการก่อสร้างได้ด้วย เป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผู้อยู่อาศัย

       จากการใช้ข้อมูลจริง นักวิจัยพบว่าเทคโนโลยีไมโครกริดสามารถทำให้ชุมชนท้องถิ่นผลิตพลังงานเองได้ 90% และจะมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มที่ในอนาคต

      “พวกเขาจะสามารถผลิตพลังงาน ความร้อน และน้ำ ด้วยตัวเอง 100 % และมีอาหารเพียงพอ 50 %” Florijn de Graaf วิศวกรระบบพลังงาน ผู้เป็นนำการเขียนงานวิจัยนี้เผย

       งานวิจัยยังระบุอีกว่า หากปรับอย่างเหมาะสม ไมโครกริดอาจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความพยายามในการเปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานหมุนเวียน และบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศเลยก็ว่าได้

       อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันไมโครกริดจะจ่ายพลังงานให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้า หรือเครื่องให้ความร้อนโดยตรงและแยกกัน ซึ่งมันทำให้ระบบจ่ายไฟเป็นที่ต้องการ และทำงานหนักมาก เหมือนกับเต้ารับไฟฟ้าที่มีปลั๊กมากเกินไป ถ้ามีการเพิ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น อาจต้องมีการอัพเกรดระบบที่มีราคาแพงเพื่อรักษาแหล่งจ่ายไฟ

Source

1.https://www.weforum.org/.../these-dutch-microgrid.../...

2.https://www.euheroes.eu/.../EU-Heroes-Case-Study...

3.https://www.vice.com/.../decentralized-microgridding-can...

4.http://thewindustry.com/columnist/พิชัย%20ถิ่นสันติสุข%20(Pichai%20Tinsantisuk)/detail/6424s223

ที่มา https://www.facebook.com/environman.th

แชร์