ข่าวดี! ‘ศรีลังกา’ เผยวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ มีประสิทธิภาพต้านโควิด ‘เดลตา’ สูง
ณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของศรีลังกา เผยผลวิจัย วัคซีน “ซิโนฟาร์ม” มีประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลตา ชี้ฉีดครบ 2 โด๊ส สร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในผู้รับ 81.25% แต่สำหรับ สายพันธุ์เบต้า นั้นได้ผลน้อย แม้จะไม่มีในรายงานข่าว http://winne.ws/n27925
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ค. คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีชยวรรธนปุระ หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของศรีลังกา พบว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของซิโนฟาร์ม (Sinopharm) บริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน มีประสิทธิภาพสูงในการต้านเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์เดลตา (Delta) ซึ่งกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้
“เราพบวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธุ์เดลตาในระดับสูง โดยการตอบสนองของแอนติบอดีต่อสายพันธุ์เดลตาและแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์มีระดับคล้ายคลึงหลังการติดเชื้อตามธรรมชาติ” มหาวิทยาลัยฯ เปิดเผยผ่านเว็บไซต์เมื่อวันจันทร์ (19 ก.ค.)
การศึกษาพบว่าร้อยละ 95 ของผู้ฉีดวัคซีนของซิโนฟาร์มครบโด๊สพัฒนาแอนติบอดีคล้ายผู้ติดเชื้อไวรัสฯ ตามธรรมชาติ อีกทั้งพบว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 2 โด๊ส สร้างแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ในผู้รับร้อยละ 81.25 ใกล้เคียงกับกลุ่มคนที่มีประวัติป่วยโรคโควิด-19 ตามธรรมชาติ
ทีมวิจัยประกอบด้วยศาสตราจารย์นีลิกา มาลาวิก นักวิทยาศาสตร์ชาวศรีลังกา หัวหน้าแผนกภูมิคุ้มกันวิทยาและเวชศาสตร์โมเลกุลจากมหาวิทยาลัยฯ ดอกเตอร์จันทิมา จีวรรณดารา รวมถึงนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้แก่ ศาสตราจารย์เกรแฮม ออกก์ และศาสตราจารย์อเลน ทาวเซนด์
มาลาวิกเปิดเผยกับสำนักข่าวซินหัวว่าวัคซีนของซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนที่ใช้กันมากที่สุดในศรีลังกาขณะนี้ สืบเนื่องจากปริมาณวัคซีนที่มีสำรองอยู่ภายในประเทศ โดยศรีลังกาดำเนินการฉีดวัคซีนของซิโนฟาร์ม โด๊สแรก ให้ประชาชน 4.63 ล้านคนแล้ว และมีผู้ฉีดวัคซีนโด๊สสอง 1.29 ล้านคน โดยไม่มีรายงานกรณีผลข้างเคียงร้ายแรงเชื่อมโยงกับวัคซีนแต่อย่างใด
มาลาวิกกล่าวว่าการศึกษาข้างต้นเป็นงานวิจัยด้านข้อมูลวัคซีนของซิโนฟาร์มชิ้นแรกที่มีการเผยแพร่ในโลก โดยผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาทุกแง่มุมที่เป็นไปได้ของระบบภูมิคุ้มหลังการฉีดวัคซีนตัวนี้ ซึ่งถูกนำไปศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) เบตา (Beta) ตลอดจนเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดั้งเดิมด้วย
“ข้อสรุปของรายงานนี้คือเมื่อเป็นสายพันธุ์เดลตาและสายพันธุ์อื่นๆ วัคซีนของซิโนฟาร์มสามารถกระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดีในระดับใกล้เคียงกับคนที่ติดเชื้อไวรัสฯ ตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมาก” มาลาวิกระบุ “ร้อยละ 98 ของกลุ่มคนอายุ 20-40 ปีมีการพัฒนาแอนติบอดี ขณะสัดส่วนดังกล่าวในกลุ่มคนอายุมากกว่า 60 ปี อยู่ที่ร้อยละ 93 ซึ่งไม่น่าแปลกใจเนื่องจากคนสูงอายุมีแนวโน้มตอบสนองต่อวัคซีนน้อยกว่า”
ทั้งนี้ มาลาวิกเสริมว่าข้อมูลของซิโนฟาร์มรูปแบบดังกล่าวไม่เคยเผยแพร่ในโลกมาก่อน และข้อมูลการใช้งานจริงเช่นนี้มีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นด้านวัคซีนทั้งในและต่างประเทศ..
เครดิตภาพ-ข้อมูล : สำนักข่าวซินหัว
https://www.dailynews.co.th/news/77155/
สรุป เป็นการวิจัยของวัคซีน ชิโนฟาร์ม ที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของ ชิโนฟาร์ม มีผลการต้านทาน ไวรัส สายพันธุ์ เดลต้า ซึ่งกำลังระบาดในไทยขณะนี้ได้ดีมาก ซึ่งดูแล้วไม่แพ้วัคซีนจากอังกฤษเลยที่เดียว
แต่อย่างไรก็ตาม ในสายพันธุ์ เบต้า ซึ่งไม่มีในข่าวนี้ แต่ในรายงานผลการทดลองนั้น อาจจะได้ผลไม่ค่อยดีนัก ซึ่งไม่ต่างกับวัคซีนจากอังกฤษเช่นกัน