ชื่นชม ร้านเฟอร์นิเจอร์ ผลิต 2,000 เตียงสนาม เพื่อผู้ป่วยโควิด
ทางบริษัทจึงอยากจะเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ อยากช่วยเหลือโรงพยาบาลในเขตโรงพยาบาลตอนใต้ ที่เริ่มรับผู้ป่วยจากกรุงเทพฯ กลับมารักษาที่ต่างจังหวัด จึงประกาศบริจาคเตียง ผ่านทางโซเชียล จำนวน 500 เตียง http://winne.ws/n27901
คนไทยไม่เคยทิ้งกัน คำๆ นี้ใช้ได้ในทุกเหตุการณ์วิกฤติของประเทศจริงๆ ค่ะ
อย่างที่จังหวัดบุรีรัมย์ ร้านเฟอร์นิเจอร์ กิมหงวนเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้แบรน Kf furniture ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟชบุ๊กว่า "ทางบริษัทกิมหงวนเฟอร์นิเจอร์ 2004 จำกัด ขอเป็นส่วนเล็กๆ ช่วยเหลือประชาชนคนไทยด้วยกัน มีเตียงสนามจำนวน 500 เตียงมอบให้โรงพยาบาลที่สนใจทำโรงพยาบาลสนามฟรี ภายใต้โครงการ "คนไทยไม่ทิ้งกัน" โรงพยาบาลไหนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขาดแคลนเตียงสนามให้ติดต่อไปได้ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
จนมีชาวโซเชียลต่างแสดงความชื่นชมเป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เดินทางไปที่ร้านกิมหงวน เฟอร์นิเจอร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 5 ต.ตาเสา อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ พบพนักงานกว่า 50 คน กำลังเร่งประกอบเตียงไม้อัดขนาด 3*6 ฟุต ภายในโรงงาน
สอบถามนาง วันเพ็ญ ยอดเพ็ชร อายุ 36 ปี ช่างประกอบเตียงภายในโรงงานเล่าว่า หลังจากทราบว่าเฒ่าแก่จะเอาเตียงที่ตนประกอบเอาไปบริจาคให้โรงพยาบาลสนาม จึงปรึกษาร่วมกันกับพนักงานภายในโรงงาน ว่าจะไม่ขอรับค่าแรงระหว่างประกอบเตียง เพราะเห็นใจที่เฒ่าแก่เป็นผู้เสียสละ และส่วนตัวก็อยากทำบุญด้วย โดยสรุปช่างทุกคนจะไม่ขอรับค่าแรง
ด้าน น.ส.ชญานิษฐ ชึรัมย์ อายุ 40 ปี รองประธานกรรมการบริษัท กิมหงวน เฟอร์นิเจอร์ 2004 จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์คนติดเชื้อโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทราบข่าวว่า”ไม่มีเตียง”
ทางบริษัทจึงอยากจะเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ อยากช่วยเหลือโรงพยาบาลในเขตภาคอีสานตอนใต้ ที่เริ่มรับผู้ป่วยจากกรุงเทพฯ กลับมารักษาที่ต่างจังหวัด จึงประกาศบริจาคเตียง ผ่านทางโซเชียล จำนวน 500 เตียง เพียงไม่ถึง 1 ชม.มีโรงพยาบาลมาจองไว้หมดเกลี้ยง
จึงขยายจำนวนอีก 500 เตียงเป็น 1,000 เตียง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ บริษัทคู่ค้าจึงยื่นมือขอช่วยวัตถุดิบมาอีก จึงขยายการบริจาคเป็น 2,000 เตียง มูลค่าเตียงละประมาณ 1,800 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 3.6 ล้านบาท แต่หากไม่เพียงพออาจจะขยายเพิ่มอีก
ความรู้สึกส่วนหนึ่งซึ้งใจและไม่เคยได้ยินจากปากคนงานมาก่อนว่า "ไม่ขอรับค่าแรง" เป็นการส่งสัญญาณความมีน้ำใจเล็กๆ ของแรงงาน ที่มีความหมายต่อคนทั้งประเทศ แต่ทางบริษัทไม่เอาเปรียบ จะต้องจ่ายค่าแรงให้อยู่ดี
ที่มา https://www.ejan.co/