เเท็กซี่ไฟฟ้าบินได้อาจเสนอทางเลือกที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ชี้ว่านั่นมีผลให้เเท็กซี่บินได้นี้สร้างแก๊สเรือนกระจกในปริมาณมากกว่ารถยนต์หากเดินทางในระยะทางสั้น เเต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่าหากเดินทางในระยะทางไกลกว่า http://winne.ws/n25942

4.3 พัน ผู้เข้าชม
เเท็กซี่ไฟฟ้าบินได้อาจเสนอทางเลือกที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

      ขณะนี้มีหลายบริษัทที่กำลังหาทางพัฒนาเครื่องบินขนาดเท่ารถยนต์ที่ออกบินเเละลงจอดในแนวตั้งที่เรียกสั้นๆ ว่า VTOL ที่สามารถพาผู้โดยสารเดินทางเหนือการจราจรภาคพื้นดินที่คับคั่งด้วยความเร็วเกิน 100 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือราว 160 กิโลเมตรเเละลงจอดในพื้นที่จำกัดที่เต็มไปด้วยตึกและอาคารของเมืองใหญ่ได้

     ทีมนักวิจัยชี้ว่ายวดยานเเห่งอนาคตนี้จะช่วยลดปริมาณเเก๊สเรือนกระจกลงได้ถึงครึ่งหนึ่งต่อผู้โดยสารสามคนต่อการเดินทางระยะทางรวม 100 กิโลเมตร แต่ว่าการประหยัดที่ว่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้โดยสารดังกล่าวเลือกที่โดยสารร่วมไปกับผู้อื่นในยวดยานเพื่ออนาคตนี้เเทนการขับรถส่วนตัว

      เกรกกอรี่ เคียวเลียน (Gregory Keoleian) ผู้เชี่ยวชาญแห่ง Center for Sustainable Systems ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวในแถลงการณ์ว่าประหลาดใจมากที่พบว่ายวดยาน VTOL มีศักยภาพสูงมากด้านการประหยัดพลังงานเเละลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลง

      เขายกตัวอย่างว่ายวดยาน VTOL หากบรรทุกผู้โดยสารเต็มอัตราจะสามารถประหยัดได้มากกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ระหว่างเมือง San Francisco ไปยังเมือง San Jose หรือจากเมือง Detroit ไปยัง Cleveland เป็นต้น

       ทางมหาวิทยาลัยมิชิแกนกำลังทำงานร่วมกับทีมนักวิจัยที่บริษัทผลิตรถยนต์ฟอร์ดพบว่ายวดยาน VTOL ต้องใช้พลังงานในปริมาณมากในการ take-off เเละในการไต่ระดับความสูง เเต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์เมื่อขึ้นถึงระดับการบิน

       ทีมนักวิจัยยังได้เเย้งด้วยว่าที่นั่งบนเเท็กซี่บินได้นี้น่าจะขายเเก่ผู้โดยสารเเยกกัน เหมือนกับที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินโดยสารทั่วไป ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นได้สูงที่ที่นั่งเหล่านี้น่าจะเต็มหมด ซึ่งต่างจากรถยนต์ที่มีจำนวนผู้โดยสารโดยเฉลี่ยราว 1-2 คน 

เเท็กซี่บินได้หนึ่งลำมีนักบินหนึ่งคนเเละผู้โดยสารสามคน ใช้เวลาเพียง 27 นาทีในการเดินทางระยะทาง 100 กิโลเมตรเเละจะสร้างเเก็สเรือนกระจกต่อหัวผู้โดยสารน้อยกว่ารถยนตร์ใช้น้ำมันจำนวนสองคันที่เดินทางบนพื้นดินในระยะทางเดียวกันถึงร้อยละ 52 เเละน้อยกว่ารถยนต์ไฟฟ้าสองคันรวมกันราวร้อยละ 6

       อย่างไรก็ตาม หากยวดยาน VTOL มีผู้โดยสารเพียงคนเดียวจะสร้างแก็สเรือนกระจกมากกว่ารถยนต์พลังงานน้ำมัน ความคุ้มค่าด้านความยั่งยืนทางสิ่งเเวดล้อมจะลดลงมาก โดยลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ 35 หากเทียบกับรถยนต์พลังงานน้ำมันหนึ่งคันเเละจะปล่อยเเก๊สเรือนกระจกออกสูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่ร้อยละ 28

       ด้าน จามีลาห์ แม็กนัสสัน (Jemilah Magnusson) แห่ง Institute for Transportation and Development Policy กล่าวว่าแม้ว่ารถยนต์บินได้ดังกล่าวจะเป็นที่ดึงดูดใจ ยังเป็นไปได้ยากที่จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนแก่การขนส่งมวนชน
เธอกล่าวกับผู้สื่อข่าวแห่งมูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ส ว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่าเเละง่ายกว่าในการปรับปรุงการเดินทางในระยะทางไกลโดยรถยนต์คือการเสนอทางเลือกด้านบริการการขนส่งสาธารณะเเละเสนอผลประโยชน์เพื่อจูงใจคนเลี่ยงการขับรถยนต์ส่วนตัวหากไม่มีผู้โดยสารคนอื่นนั่งไปด้วย

        ผลการศึกษาของทางมหาวิทยาลัยมิชิแกนไม่ได้แจกเเจงว่ายวดยานบินได้ VTOL จะเริ่มให้บริการลูกค้าเป็นครั้งเเรกเมื่อไหร่

อ่านต่อที่  VOA

แชร์