นักวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชให้เก็บกักแก๊สคาร์บอนได้ถาวร

ในการสังเคราะห์แสง พืชใช้พลังงานที่ได้จากเเสงอาทิตย์ในการดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศเเละเมื่อรวมเข้ากับน้ำ พืชก็จะสร้างน้ำตาลเพื่อการเจริญเติบโต http://winne.ws/n25182

908 ผู้เข้าชม
นักวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชให้เก็บกักแก๊สคาร์บอนได้ถาวร

      ในกระบวนการนี้พืชจะปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมาเเละเก็บกักแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในเนื้อเยื่อรวมทั้งในราก หลังจากนั้นพืชจะค่อย ๆ  ปล่อยแก๊สคาร์บอนออกมาขณะที่เจริญเติบโตเเละเมื่อตายลงเเละเริ่มเน่าสลายแต่ยังมีเเก๊สคาร์บอนส่วนหนึ่งคงอยู่ในดิน

     กระบวนการชีววิทยาของพืชนี้เป็นเเรงบันดาลใจให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันซอล์กที่ซานดิเอโด รัฐเเคลิฟอร์เนียให้ทำการโปรแกรมพืชให้สร้างแก๊สคาร์บอนที่มีความเสถียรมากขึ้นเพื่อกักเก็บเอาไว้ลึกในใต้ดินเป็นการถาวร

      โจเซฟ โนเอ ศาสตราจารย์ที่สถาบันซอล์ก กล่าวว่า ตอนเป็นเด็กเขาเติบโตในทางตะวันตกของรัฐเพนซิลเวเนีย เขาชอบทำสวนมากคุณยายเเละคุณทวดสอนเขาปลูกสวนผักทุกฤดูร้อน และเขาได้ฝึกฝนการทำปุ๋ยและจำได้ว่าเคยนำฝาจุกขวดเหล้าไวน์ใส่ไว้ในปุ๋ยหมักเพราะคิดว่าเป็นไม้และน่าจะย่อยสลายได้ แต่พบว่าฝาขวดเหล้าไวน์ไม่ย่อยสลาย

     ฝาจุกขวดเหล้าไวน์มีสารซูเบอร์ริน (suberin) ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำในปริมาณที่สูงสารนี้พบในพืชเกือบทุกชนิด เเละช่วยป้องกันรากของพืชจากการเน่าสลายและคุณสมบัตินี้นี่เองที่นักวิทยาศาสตร์หวังว่าอาจนำไปใช้ในการเก็บกักแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้พื้นดินและช่วยอนุรักษ์โลกเอาไว้

นักวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชให้เก็บกักแก๊สคาร์บอนได้ถาวร

     โนเอล กล่าวว่าการฝังแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดินจะยิ่งเป็นผลดีต่อพืชเพราะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต เเละเป็นผลดีต่อระบบนิเวศวิทยาหรือแก่ที่ดินทำการเกษตรเนื่องจากการมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในดินในระดับสูงจะมีผลดีต่อสิ่งเเวดล้อม

      ขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันซอล์กกำลังหาทางพัฒนาระบการทำงานที่จะช่วยให้พืชผลิตสารซูเบอร์รินได้มากขึ้น

      ห้องทดลองของสถาบันซอล์กเลียนแบบสภาพภูมิอากาศหลายโซนด้วยกันเพื่อหาทางพัฒนาพืชที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของโลกขั้นตอนนี้ใช้เวลานานเเละต้องใช้ความพยายามมาก

      เมื่อเร็ว ๆ นี้สถาบันซอล์กได้ซื้อหุ่นยนต์ที่ใช้เวลาเพียงหนึ่งวันในการทำงานที่นักวิจัยต้องใช้เวลาทำถึง 5 สัปดาห์

      ทีมนักวิจัยใช้วิธีการผสมพันธุ์พืชแบบดั้งเดิมในการผลิตพืชอาหารที่มีความสามารถในการเก็บกักแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณที่สูงขึ้นแต่ในอนาคต ทีมนักวิทยาศาสตร์อาจจะหันไปใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม

      วูล์ฟเเกง บูสช์ รองศาสตราจารย์แห่งสถาบันซอล์ก กล่าวว่าในโครงการนี้ ทีมงานใช้การวิธีดั้งเดิมในการคิดค้นพันธุ์พืชขึ้นมาใหม่โดยใช้พันธุกรรมที่หลากหลายเเละเเตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่เเล้วในธรรมชาติเพื่อให้พืชพันธุ์ใหม่ผลิตสารกันน้ำมากขึ้น ในขณะนี้จึงยังไม่จำเป็นต้องใช้วิธีตกแต่งพันธุกรรมพืช แต่ในอนาคตอาจต้องใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเข้ามาช่วยเพราะทำได้เร็วกว่ามากทำให้ประหยัดเวลาการทำงานลงมากได้อย่างมากเพราะปัญหาภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นเเละเราไม่สามารถรอนานได้ในการหาทางแก้ปัญหานี้

    ในอีกห้าปีข้างหน้านักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะสามารถพัฒนาพืชขึ้นมาได้หลายชนิดเพื่อให้เหมาะกับการนำไปปลูกในพื้นที่แต่ละส่วนของโลกเพื่อช่วยลดระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศลง

ขอบคุณบทความจาก VOA

แชร์