คำว่า"แม่" ความหมายและมุมมองคนอีสานกับคำขานที่แตกต่างทางภาษา
คำว่า อิแม่ หรืออีแม่ เป็นคำที่เด็กใช้เรียกแม่ของตนเองด้วยความรักและเคารพว่า "อิแม่" คำว่า อิแม่ จึงเป็นคำพูดที่แสดงถึงความเคารพต่อมารดาผู้ให้กำเนิดตนเองมา ซึ่งผมว่า เป็นคำพูดที่มีความหมายและความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง http://winne.ws/n24651
อิแม่ : คำว่า "แม่" ในมุมมองคนอีสาน ?
@ ใกล้วันแม่แล้วผมว่าจะเขียนเรื่องวันแม่หน่อย แต่คิดๆมันก็เป็นเรื่องซ้ำๆเขียนไปก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่เพราะพวกเราสั่งสมความรู้เรื่องแม่มานานเกือบทุกปีก็ว่ากันเรื่องวันแม่จนไม่รู้ว่าจะว่ากันในมุมไหนแล้วล่ะ แต่คิดๆไปก็ลองคิดถึงเรื่องแม่ในมุมมองของคนอีสานดีกว่า เผื่อมีอะไรแปลกใหม่น่าอ่านกว่านะครับ
@ อิแม่ : คำนี้มีความหมาย ?
คนอีสานโดยมากจะเรียกผู้หญิงที่มีสถานภาพของความเป็นแม่แล้วคือมีลูก มีครอบครัวแล้ว ถ้าเป็นสามีเรียกภรรยามักจะเรียกว่า "แม่อินาง"หรือ "แม่บักหำ" หมายถึง คุณๆนั่นแหละ แต่ในภาษาอีสานหรือภาษาลาวจะใช้คำสรรพนามแทนภรรยาของตัวเองว่า "แม่อินาง"หรือ "แม่บักหำ" แทน
สมัยแม่" ในมุมมองคนอีสาน ?ที่มาอยู่รวมๆกัน เช่น ภูไท โซ่ ญ้อ กะเลิง ลาวเวียง ลาวครั่ง ลาวอุบล ลาวอุดร หรือส่วย เขมร เป็นต้นมาอยู่รวมกัน
แต่ละกลุ่มก็จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไม่เว้นแม้แต่เรื่องของ "ภาษา"ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน แต่โดยรวมลาวอีสานนั้นจะมีภาษาหรือการใช้ภาษาหลายๆคำร่วมกัน และ คำว่า "แม่" ก็เช่นเดียวกันมักจะใช้คำว่า อิแม่เป็นคำสรรพนามเรียกแม่คล้ายๆกัน
ซึ่งคำว่า อิ หรือ อี นี้คนอีสานมักนำมาใช้เป็น คำแสดงเพศในภาษา คือ อิ หรือ อี หมายถึงเพศหญิง
เช่น ถ้าเป็นเด็กใช้คำว่า อินางน้อย พอโตมาหน่อยใช้คำว่า อินางไม่มีน้อยต่อท้ายเพราะโตแล้วนั่นเอง หรือใช้คำว่าอีหล่า แสดงถึงลูกสาวคนเล็กซึ่งเป็นที่รักของพ่อแม่ ส่วนเพศชายใช้คำว่า "บัก" เช่น บักหำน้อย หมายถึงเด็กชายตัวเล็กๆ ถ้าเป็ยลูกชายคนเล็กจะใช้คำว่า บักหล่า เป็นต้น ถ้าโตขึ้นมาหน่อยก็จะใช้คำว่า บักหำ แต่โตมาเป็นวัยรุ่นก็จะใช้คำว่า "ท้าว" หรือเรียกชื่อไปเลยว่า "บักคำ บักแดง บักเตี้ย เป็นต้นแสดงว่าคนนั้นเป็นวัยรุ่นแล้วนั่นเอง
ส่วนคำว่า อิแม่ หรืออีแม่ เป็นคำที่เด็กใช้เรียกแม่ของตนเองด้วยความรักและเคารพว่า "อิแม่" เช่น อิแม่สิไปไส" หมายถึงคุณแม่จะไปไหนครับ/คะ ลูกไม่ว่าจะเป็นลูกชายหรือลูกหญิงเวลาเรียกแม่จะใช้คำว่าอีแม่เสมอๆ ดังนั้น คำว่า อิแม่ จึงเป็นคำพูดที่แสดงถึงความเคารพต่อมารดาผู้ให้กำเนิดตนเองมา ซึ่งผมว่า เป็นคำพูดที่มีความหมายและความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
@ บทบาทของ " อิแม่ " ในวิถีของชาวอีสาน ?
คนอีสานนั้นถือว่าคนที่เป็นแม่นั้นเป็นคนที่หาได้ยากเพราะเป็นผู้ที่ให้กำเนินดลูกน้อยให้กับครอบครัว หรือสร้างสมาชิกให้กับโลกใบนี้ ดังนั้น อิแม่ จึงมีบทบาทที่สำคัญมาก โดยในวิถีของคนอีสาน อิแม่ จะมีบทบาทที่สำคัญ คือ
(๑) เลี้ยงดูลูก เป็นหน้าที่หลักเพราะการเลี้ยงดูลูกเป็นหน้าที่ของแม่อยู่แล้ว
(๒)ให้ความรักความห่วงใยลูก ไม่ว่าลูกจะสุขหรือทุกข์แม่ก็ไม่เคยนิ่งนอนใจในการเอาใจใส่ แม้เวลาที่ลูกโตแล้วก็ยังคิดว่าลูกเป็นเด้กอยู่
(๓) ให้การศึกษาและการอบรมลูก เป็นภาระอย่างหนึ่งของคนที่เป็นแม่คือการให้การอบรมเลี้ยงดู สอนทั้งวิชาการในการดำเนินชีวิตและวิชาที่จะเอาตัวรอดได้ในสังคม แม่สอนได้เสมอ โดยเฉพาะการปลูกฝังเรื่องวัฒนธรรมและคำสอนแบบพุทธ เช่น การใส่บาตรหยาดน้ำ การไปทำบุญรักษาศีลที่วัด เป็นต้นเป็นหน้าที่ของแม่ที่จะสอนลูก สอนด้วยการทำให้ดู อยู่ให้เห็นและทำให้เป็น
(๔) ดูแลครอบครัว นอกจากจะสอนลูกแล้วหน้าที่ประจำของแม่ก็คือการดูแลครอบครัวให้บ้านเป็นบ้านและให้เป็นบ้านที่มีความสุข
(๕) จัดการเรื่องการมีครอบครัวของลูก นี่เป็นสิ่งที่พ่อแม่หรืออิพ่ออิแม่ในวิถีชาวอีสานคำนึงถึงมากที่สุดก็คือ การเห็นลูกเป็นฝั่งไป็นฝา เมื่อถึงวัยอันควร เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า "อีแม่หรืออิแม่ ของชาวอีสานนั้นถือว่ามีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการดูแลเลี้ยงดูลูกและเรื่องอื่นๆในครอบครัว
จึงถือว่าอิแม่นั้นเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องและเชิดชูมากที่สุดคนหนึ่ง
@ เอาล่ะเดี๋ยวยาว พอแค่นี้ก่อนนะครับ ใครมีแม่ก็ขอให้รักและดูแลท่านให้ดีที่สุดนะครับ อย่าลืมว่าพ่อแม่มีคุณที่ยิ่งใหญ่สุดจะหาใใดเทียบเทียมได้ เพราะเราเกิดมาได้เพราะท่านไม่มีท่านก็ไม่มีเรา คิดแค่นี้ก็สุดจะกลั้นน้ำตาไว้ได้แล้วทีเดียวครับ
Cr.Naga King
ขอบคุณภาพและบทความจาก
เฟซบุ๊กNaga King