ผลวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สมาร์ทโฟนกำลังทำลายสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่

การใช้สมาร์ทโฟนไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าในวัยรุ่น แต่งานวิจัยยังพบว่า อาการซึมเศร้ายังแปรผันตามเวลาที่วัยรุ่นใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวัยรุ่นที่ใช้เวลาออนไลน์มากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป มีแนวโน้มจะมีอาการซึมเศร้ามากกว่า http://winne.ws/n22057

1.0 พัน ผู้เข้าชม
ผลวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สมาร์ทโฟนกำลังทำลายสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ขอบคุณภาพจาก Dek-D.com

ผลวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สมาร์ทโฟนกำลังทำลายสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง และนอนไม่เพียงพอ

นิตยสารทางวิชาการ Clinical Psychological Science ได้ตีพิมพ์การวิจัยที่ระบุว่า วัยรุ่นจากทุกเชื้อชาติและชนชั้นในสหรัฐฯ เป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น รวมถึงจำนวนคนที่พยายามฆ่าตัวตายด้วย โดยนักวิจัยระบุว่า คนที่เกิดหลังปี 1995 ว่าเป็นรุ่น iGen มีแนวโน้มที่จะสุขภาพจิตที่ย่ำแย่กว่าคนยุคมิลเลนเนียล

ในช่วงปี 2010 - 2015 วัยรุ่นรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและไม่มีความสุข ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นของการเป็นโรคซึมเศร้า มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 และมีวัยรุ่นที่พยายามฆ่าตัวตายมากขึ้นถึงร้อยละ 23 โดยจำนวนวัยรุ่นอายุ 13 - 18 ปีที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มมากถึงร้อยละ 31

ผลวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สมาร์ทโฟนกำลังทำลายสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ขอบคุณภาพจาก icd.company

จากการสำรวจพบว่า ช่วงปี 2010 - 2015 เป็นช่วงที่การเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างมีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานก็ลดลง ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็เป็นปัญหามาโดยตลอดอยู่แล้ว ส่วนเวลาที่วัยรุ่นใช้ในการทำการบ้านก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิมมากนัก ทั้งหมดนี้จึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยให้วัยรุ่นรู้สึกซึมเศร้าอย่างกะทันหัน

ความเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันระหว่างคนรุ่น iGen และมิลเลนเนียลก็คือ ความรุ่งเรืองของสมาร์ทโฟน โดย Pew Research ระบุว่า ในช่วงปลายปี 2012 เด็กมากกว่าร้อยละ 50 มีสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนเดียวกับจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นและอัตราการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นด้วย จนปี 2015 วัยรุ่นที่เข้าถึงสมาร์ทโฟนได้มีถึงร้อยละ 73

ผลวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สมาร์ทโฟนกำลังทำลายสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ขอบคุณภาพจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ

การใช้สมาร์ทโฟนไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าในวัยรุ่น แต่งานวิจัยยังพบว่า อาการซึมเศร้ายังแปรผันตามเวลาที่วัยรุ่นใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวัยรุ่นที่ใช้เวลาออนไลน์มากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป มีแนวโน้มจะมีอาการซึมเศร้ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และวัยรุ่นที่ออนไลน์มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มจะมีอาการซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่ใช้เวลาออนไลน์เพียง 1 ชั่วโมงต่อวันถึงร้อยละ 71

มีงานวิจัยอีก 2 ชิ้นที่ระบุว่า การใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียมากเกินไปทำให้ไม่มีความสุข แต่การไม่มีความสุขไม่ได้ทำให้คนใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นได้ให้ผู้ร่วมวิจัยกลุ่มหนึ่งงดใช้เฟซบุ๊กเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มใช้เฟซบุ๊กได้ตามปกติ พบว่า กลุ่มที่งดใช้เฟซ บุ๊กรู้สึกซึมเศร้าน้อยกว่า

แม้การใช้เวลาอยู่บนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำลายสุขภาพจิตโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบอย่างมากในทางอ้อม โดยเฉพาะเมื่อเวลาบนโลกออนไลน์ไปเบียดบังกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิต โดยนักวิจัยพบว่า วัยรุ่น iGen ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนน้อยลง ทั้งที่การปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์แบบตัวต่อตัวเป็นหนึ่งในสิ่งที่จะทำให้มนุษย์มีความสุขได้ และเมื่อเราใช้เวลาส่วนนี้น้อยลง อารมณ์ของเราจะย่ำแย่ลง และอาการซึมเศร้าจะตามมา การรู้สึกโดดเดี่ยวจากสังคมจะกลายเป็นปัจจัยหลักในการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ วัยรุ่นยังนอนหลับน้อยลง โดยวัยรุ่นที่ใช้เวลาเล่นโทรศํพท์มากกว่า จะมีแนวโน้มว่าจะนอนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอาการซึมเศร้า

อ่านต่อได้ที่: https://voicetv.co.th/read/BJLBSKhrM

แชร์