ผู้แทน 5 สมาคมผู้ประกอบการโทรทัศน์ ยื่น 4 ข้อเสนอ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แก้ ไขพ.ร.บ.กสทช.
วันที่ 30 ต.ค.2560 ผู้แทน 5 สมาคมผู้ประกอบการโทรทัศน์ ยื่นหนังสือถึงกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม http://winne.ws/n20043
ผู้แทน 5 สมาคมผู้ประกอบการโทรทัศน์ ยื่น 4 ข้อเสนอ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แก้ ไขพ.ร.บ.กสทช. ขณะที่กรรมาธิการพิจารณากฎหมาย กสทช. เตรียมเสนอรวมกฎหมายสื่อ 4 ฉบับที่ เป็นฉบับเดียวเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย
วันที่ 30 ต.ค.2560 ผู้แทน 5 สมาคมผู้ประกอบการโทรทัศน์ ยื่นหนังสือถึงกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ผ่าน พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเสนอแก้ไขพ.ร.บ. กสทช. ใน 4 ประเด็น
ประเด็นแรก คือ ให้แยกประเภทคลื่นความถี่ประเภท เรียกเก็บค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ชม หรือ Pay TV และไม่เรียกเก็บค่าสมาชิก หรือ Free TV เพื่อให้ผู้ประกอบการเลือกได้ว่าจะประกอบกิจการแบบใด
ประเด็นที่สอง ให้แก้ไขประเภทใบอนุญาตโดยให้คงใบอนุญาตแบบประกอบกิจการบริการสาธารณะและบริการชุมชนไว้ แต่กิจการธุรกิจให้เสนอแผนใหม่ โดยเพิ่มรายการบริการสาธารณะและบริการชุมชน
ประเด็นที่สาม ให้ยกเลิกการจำกัดเวลาโฆษณายกเว้นช่วงเวลาที่ถ่ายทอดสดรายการประเภทผูกขาด
ประเด็นสุดท้าย ขอให้ทบทวนคุณสมบัติของ กสทช. เปิดทางให้มีผู้บริหารองค์กรสื่อหรือผู้มีประสบการณ์ด้วยบริหารกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ไม่น้อยกว่า 10 ปี เข้าร่วมเป็นกรรมการ กสทช. เพราะปัจจุบันกรรมการ กสทช.หลายคนมีความรู้ แต่ไม่เข้าใจบริบทการทำงานของสื่อ
พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ
ด้านพล.ร.อ.ทวีวุฒิ รับข้อเสนอเพื่อพิจารณาต่อไป พร้อมยืนยันว่า กรรมาธิการฯจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ดีที่สุดเพื่อให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด และผู้ประกอบกิจการผ่อนคลายเพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามขณะนี้มีแนวคิดที่จะหลอมรวมร่างกฎหมาย 4 ฉบับที่เกี่ยวกับสื่อ ซึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 /พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544/ พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 / พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ปรับแก้รวมเป็นฉบับเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติและให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทีวีดิจิทัลเป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่จะดำเนินการ