แจงปม..คำสั่งคสช.ม.44ประกาศใช้ช่วงสัปดาห์ที่คนไทยกำลังเศร้าโศก เหตุสร้างความเชื่อมั่นโครงการ EEC
สมนึกเล่าถึงที่มาของกฎหมายผังเมืองในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่ปี 2518 แต่เริ่มมีการใช้อย่างจริงจังคือปี 2547 โดยกำหนดให้ชุมชนเป็นคนมีส่วนร่วมในการกำหนดว่าพื้นที่ต่างๆควรเป็นสีอะไรและมีอายุใช้งานที่กำหนดไว้ http://winne.ws/n20039
คำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ถูกประกาศใช้ในช่วงสัปดาห์ที่คนไทยกำลังเศร้าโศก เหตุเพื่อเรียกความเชื่อมั่นโครงการ EEC
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเห็นชอบคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ …/2560 เรื่อง ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ประกอบกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฯ 2557 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน ระหว่างรอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พ.ศ. ….ประกาศใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี
การประกาศดังกล่าวภาคประชาสังคมและนักวิชาการออกมาโวยว่าเป็นการฉวยโอกาสที่คนไทยกำลังไว้ทุกข์ในช่วงเวลาสำคัญ และแอบผลักดันโครงการใหญ่ที่ส่งผลกระทบกับคนจำนวนมหาศาล โดยไม่มีการตรวจสอบที่ดีพอ และเป็นการเอื้อประโยชน์ของทุน เรื่องนี้รัฐบาลจะว่าอย่างไร?
ม.44 ผ่าน EEC คือการทำรัฐประหารทางผังเมือง ใช่หรือไม่ ?
ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีพูดคุยกับ ดร.สมนึก จงมีวศิน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมพื้นที่ภาคตะวันออก และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความรู้ว่าโดยปกติผังเมืองทั่วไปจะมีหลายสี แต่สีที่คนมักจะพูดถึงคือ สีม่วง เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและคลังสินค้า สีชมพูคือพื้นที่ชุมชน และ สีเขียวเข้มคือพื้นที่เกษตรกร อย่างในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมดั้งเดิมในภาคตะวันออกเช่น มาบตาพุดในจังหวัดระยอง และแหลมฉบังในชลบุรีก็จะเป็นสีม่วงอย่างชัดเจน
สมนึกเล่าถึงที่มาของกฎหมายผังเมืองในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่ปี 2518 แต่เริ่มมีการใช้อย่างจริงจังคือปี 2547 โดยกำหนดให้ชุมชนเป็นคนมีส่วนร่วมในการกำหนดว่าพื้นที่ต่างๆควรเป็นสีอะไรและมีอายุใช้งานที่กำหนดไว้ โดยมีการปรับปรุงต่อเนื่อง แต่ผังเมืองของชลบุรีและระยองกว่าจะได้ประกาศใช้จริงคือต้นปี 2560 แต่กลับมาถูกประกาศม.44 คสช. ยกเลิกในไม่กี่เดือน
ปัญหาสำคัญที่สมคิดอยากชี้ให้เห็นคือก่อนหน้านี้ปี 2559 คสช.ได้ใช้ประกาศม.44 ในการผลักดันพื้นที่เขตเศราบกิจพิเศษไปแล้ว แต่การใช้ประกาศในรอบนี้นั้นครอบคลุมเกินพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะประกาศครอบคลุมผังเมืองถึง 3 จังหวัดด้วยกัน ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดหลักธรรมาภิบาลและมีส่วนร่วมเพราะประชาชนไม่มีส่วนในการกำหนดผังเมืองของพวกเขาเองได้อีก
สมนึกยืนยันว่าจำเป็นต้องมีการคเลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวถึงแม้สถานการณ์การเมืองในตอนนี้จะไม่เอื้ออำนวย เพราะก่อนหน้านี้เมื่อครั้งสนช. กำลังพิจารณาพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวาระที่2 ก็ได้มีประชาชนภาคตะวันออกออกมาคัดค้านแล้ว แต่คิดว่าคสช.กลัวว่าเมื่อกฎหมายออกมาจะไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงจึงใช้ประกาศม.44 ตัดหน้า สมนึกตั้งข้อสังเกตว่ามีการเอื้อประโยชน์กับกลุ่มใดหรือไม่ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเข้าไปจัดสรรที่ดินบริเวณแสมสาร จังหวัดชลบุรีให้เป็นที่ทหารเรือกว่า 1,000 ไร่ โดยเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการแพทย์ และการซ่อมบำรุงอากาศยาน
บทเรียนจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดโครงการอีสเทรินซีบอร์ดนั้น รัฐบาลไม่เคยเรียนรู้ในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเลย สมนึกให้จับตาโครงการเฟส3ของมาบตาพุดที่จะมีการถมทะเลเป็นพื้นที่กว่า1,000ไร่ซึ่งครั้งแรกติดขัดเรื่องการพิจารณา EIA และ EHIA แต่พอมีม.44 ก็แทบจะผ่านได้สบาย เมื่อถามว่าปัญหาทั้งหมดมีทางแก้ไขได้หรือไม่? สมนึกกล่าวว่าคงยากเนื่องจากตามรัฐธรรมนูญบทเฉพาะกาลกล่าวว่าหากจะยกเลิกประกาศคำสั่งคสช. ต้องออกมาเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น