"ชักแม่น้ำทั้งห้า" สำนวนไทยที่มีที่มาจากเฒ่าชูชก
หลายคนคงคุ้นเคยกับสำนวนที่ว่า “ชักแม่น้ำทั้งห้า” แต่ใครเคยสงสัยมั้ยว่า มีที่ไปที่มาอย่างไร http://winne.ws/n10904
ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
ขยายความ – สำนวนไทยคำว่า ชักแม่น้ำทั้งห้า นิยมใช้กับคนที่พยายามที่จะพูดจาเพื่อหว่านล้อมอีกฝ่ายให้เห็นด้วยกับตน เห็นใจตนเอง เพื่อให้การร้องขอของตนสัมฤทธิ์ผล ตัวอย่างเช้น นายน้อยพยายามชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อให้นายแมนเห็นใจในความลำบากของตน เพื่อให้นายแมนผ่อนผันการชำระค่าเช่าที่ดินทำกิน หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง นายนทีพูดจาหว่านล้อมชักแม่น้ำทั้งห้ากับผู้จัดการเพื่อขอขึ้นค่าแรง เป็นต้น
สำนวนนี้มีที่มาจากวรรณคดีเรื่องมหาชาติ แม่น้ำทั้งห้าคือแม่น้ำสายใหญ่ในอินเดีย ๕ สาย ได้แก่
1. คงคา
2.ยมุนา (อ่านว่า ยะ-มุ-นา)
3. อจิรวดี (อ่านว่า อะ-จิ-ระ-วะ-ดี)
4.สรภู (อ่านว่า สอ-ระ-พู)
5. และ มหิ
เมื่อชูชกจะกล่าวขอสองกุมารต่อพระเวสสันดร ไม่ทูลขอตรง ๆ แต่นำเอาแม่น้ำทั้งห้ามาเปรียบ ว่าไหลแผ่สาขาเป็นประโยชน์แก่ฝูงชนอย่างไร ก็เหมือนน้ำพระทัยของพระเวสสันดรอย่างนั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ teenza.wordpress.com