"ฝนหลวง"ฝนจากฟ้า...พระเมตตาของพ่อต่อลูกไทย

“ฝนหลวง” หรือ “การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน” เป็นเทคโนโลยีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้นพัฒนาขึ้น และจากความสำเร็จของการทำฝนหลวง ที่เป็นที่ประจักษ์ ในปีพุทธศักราช 2545 จึงได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรคุ้มครองในประเทศไทย http://winne.ws/n9155

3.1 พัน ผู้เข้าชม
"ฝนหลวง"ฝนจากฟ้า...พระเมตตาของพ่อต่อลูกไทย

          ฝนหลวงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม 

        ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิดความพร้อมตามวัฏจักรของน้ำ คือ

"ฝนหลวง"ฝนจากฟ้า...พระเมตตาของพ่อต่อลูกไทย

         1. การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน

         2. การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน

         3. การพัฒนาการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะสามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน

         ดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว   

         ในที่สุดประสบผลสำเร็จและได้นำมาใช้ถึงทุกวันนี้ ล่าสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯได้ พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้เทคโนโลยีฝนหลวงในรัฐควีนส์แลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย ทั้งนี้ ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระบุว่า “ฝนหลวง” หรือ “การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน” เป็นเทคโนโลยีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้นพัฒนาขึ้น และจากความสำเร็จของการทำฝนหลวง ที่เป็นที่ประจักษ์ ในปีพุทธศักราช 2545 จึงได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรคุ้มครองในประเทศไทย

  ต่อมาในปีพุทธศักราช 2548 ได้รับสิทธิบัตรคุ้มครองจากกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป จำนวน 30 ประเทศ และในปีพุทธศักราช 2549 จากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงออกสิทธิบัตรคุ้มครองฝนหลวง ด้วยเหตุนี้ ทำให้เทคโนโลยีฝนหลวงเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ ในการเป็นเทคโน โลยี ที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นได้

"ฝนหลวง"ฝนจากฟ้า...พระเมตตาของพ่อต่อลูกไทย

ขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนหลวงตามแนวพระราชดำริ 

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" 

          เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนใน

"ฝนหลวง"ฝนจากฟ้า...พระเมตตาของพ่อต่อลูกไทย

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" 

          เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลาย 

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี" 

          เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution) 


ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.komchadluek.net/news/agricultural/246416

"ฝนหลวง"ฝนจากฟ้า...พระเมตตาของพ่อต่อลูกไทย
แชร์