ผักเหลียง "ราชินี"ผัก พื้นบ้าน มากคุณค่า บำรุงสายตา กระดูก เอ็น!!!
ผักเหลียง พบมากแถบภาคใต้ตอนบน เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Gentaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetumgnemon Limm เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร มีใบเรียวยาว เป็นผักที่กำลังมาแรง เพราะมีรสมันอร่อย ไม่มีรสขมเหมือนผักใบเขียวชนิดอื่นๆ http://winne.ws/n5970
ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ แม้อาจจะได้รับความนิยมไม่มากเท่าสะตอ แต่เป็นผักที่กำลังมาแรง เพราะมีรสมันอร่อย ไม่มีรสขมเหมือนผักใบเขียวชนิดอื่นๆ นิยมนำมารับประทานเป็นผักสดเคียงกับน้ำพริก ขนมจีน แกงไตปลาทั้งนำมาทำอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ผัดไฟแดง ผัดกับกะปิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ รองห่อหมก และที่นิยมกันมาก คือนำมาผัดกับไข่ ซึ่งเป็นเมนูที่รับประทานได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ชอบกินผัก แต่กินผักเหลียงผัดไข่ได้เพราะ ผักเหลียงมีรสชาติมัน ไม่ขม ไม่มีกลิ่น เมื่อนำมาผัดกับไข่แล้วอาจทำให้เด็กกินผักได้มากขึ้น
ผักเหลียงคือผักใบเขียวชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปผักก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอยู่แล้ว เพราะนอกจากจะมีใยอาหาร ยังมีวิตามินกับแร่ธาตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป ล้วนแล้วเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผักใบเขียวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารกลุ่มนี้ช่วยในการดูแลสุขภาพตา และการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ขณะที่ไข่ก็มีประโยชน์ เพราะมีโปรตีนที่ดี รวมเข้ากับวิตามินที่ดีของผักเหลียง และไขมันที่ดีของน้ำมันที่เอามาผัด
ทั้งนี้ น้ำมันสามารถละลายวิตามินที่มีในผักเหลียงให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ และน้ำมันก็ช่วยในการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดได้ ผักเหลียงผัดไข่จึงเป็นอาหารเมนูหนึ่งที่มีประโยชน์และเป็นอาหารที่แนะนำให้เด็กหรือผู้สูงอายุบริโภค เพราะมีประโยชน์ เพียงแต่ต้องระวังเรื่องน้ำมันที่ใช้ผัด ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณภาพ และอย่าใช้ในปริมาณที่มากเกินไป
ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเอ มีข้อมูลจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า ผักเหลียง 100 กรัม หรือ 1 ขีด ไม่รวมก้าน ให้เบต้าแคโรทีนสูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล สูงกว่าที่มีในผักบุ้งจีน 3 เท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า และมากกว่าใบตำลึงหรือผักที่ถือว่าเป็นสุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนอย่างแครอท ก็ไม่ได้มีมากไปกว่าผักเหลียงเลย เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้ม แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียงเพราะมันถูกสีเขียวของใบผักปกปิดไว้จนหมด กินผักเหลียงจึงให้ทั้งคุณค่าของเบต้าแคโรทีนและสารพฤกษเคมีจากผักใบ
นอกจากใบที่ใช้กินเป็นอาหาร ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียยังนิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหลียงมาทำข้าวเกรียบ ส่วนใบรับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และนำไปใช้ลอกฝ้าด้วย
ขอบคุณ เรื่องและภาพ สสส.
ขอบคุณthairat.com