สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสยามานุสสติมาจาก คำขวัญปลุกใจของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ว่า "What stands if Freedom fall? Who dies if England live?" http://winne.ws/n3586

2.4 หมื่น ผู้เข้าชม

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

        สยามานุสติ [สะหฺยามมานุดสะติ สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึงประเทศสยาม ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.(ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน)

สยามานุสสติ

        สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยนารถ ถาวรบุตร

       พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสยามานุสสติมาจาก คำขวัญปลุกใจของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ว่า "What stands if Freedom fall? Who dies if England live?"

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑

๏ รักราช จงจิตน้อม ภักดี ท่านนา

รักชาติ กอบกรณีย์ แน่วไว้

รักศาสน์ กอบบุญตรี สุจริต ถ้วนเทอญ

รักศักดิ์ จงจิตให้ โลกซร้อง สรรเสริญฯ

๏ ยามเดินยืนนั่งน้อม กะมล

รำลึกถึงเทศตน อยู่ยั้ง

เป็นรัฎฐะมณฑล ไทยอยู่ สราญฮา

คนถนอมแน่นตั้ง อยู่เพี้ยง อวสานฯ

๏ ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย

ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น

เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล

เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้อง เกียรติงามฯ

๏ หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย

หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ

เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้น สกุลไทยฯ 

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ อ้างอิง วิกิพีเดีย

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 6พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระวชิระ ซึ่งมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มหาวชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นศาตราวุธของพระอินทร์ พระราชลัญจกรพระวชิระนั้น เป็นตรางา รูปรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. มีรูปวชิราวุธเปล่งรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง ๒ ข้าง

เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา ๗ ทุ่ม ๔๕ นาที (๑ นาฬิกา ๔๕ นาที) ของวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากที่ทรงพระประชวรด้วยอาการพระอันตะ (ลำไส้) ทะลุ จากแผลผ่าตัดพระนาภีที่เกิดอาการอักเสบขั้นทะลุบริเวณพระนาภี (ผิวหนังหน้าท้อง)

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

สยามานุสสติ..การระลึกถึงประเทศสยาม พระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

        นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มหลาย ๆ อย่างในเมืองไทย ที่หลาย ๆ ท่านที่รู้และอาจยังไม่รู้ เช่น พระทรงเป็นกษัตริย์นักรบและนักปราชญ์ ทรงก่อกำเนิดแสนยานุภาพกองทัพไทย บก เรือ อากาศ ทรงนำทัพไทย สู่สงครามโลกครั้งที่ ๑ จนประสบชัยชนะ ร่วมกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร ทรงให้กำเนิดธงไตรรงค์ ที่เรายืนเคารพกันเสมอ ๆ ในทุกวันนี้ แทนธงช้างก่อนเข้าร่วมสงคราม ที่บ้างครั้งชักผิดเอาหัวช้างกลับลงบ้าง

        ดังนั้นทรงเห็นสมควรที่จะเปลี่ยนธงชาติไทยให้เป็นธงสามสี คือ สีขาว สีแดง และน้ำเงิน ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยาม และเพื่อเป็นเครื่องหมายให้เห็นว่าได้ร่วมสุขทุกข์และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ อนึ่ง ธงสามสีดังกล่าวได้พระราชทานให้เรียกว่า “ ธงไตรรงค์” ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงความหมายของสีทั้งสามว่า

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด

ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย

แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษะชาติศาสนา

น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเปนของส่วนองค์

จัดริ้วเข้าเปนไตรรงค์ จึ่งเปนสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย

ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย  วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ

(จากหนังสือดุสิตสมิตฉบับพิเศษ พ.ศ.๒๔๖๑ สะกดตามต้นฉบับ) 


อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/prisanasweetsong/2009/12/19/entry-2

ขอบคุณภาพจากwww.google.com

แชร์