งานทดลองในยุโรปพบ "เกมแอ๊กชั่น" มีส่วนช่วยพัฒนา "การอ่าน" ของเด็ก
คณะนักวิจัยในมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเทรนโต ประเทศอิตาลี พบว่า เด็กสามารถพัฒนาการอ่านในระยะยาวได้ ด้วยการเล่นวิดีโอเกมแอ๊กชั่นเพียง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ http://winne.ws/n28624
รายงานว่า คณะนักวิจัยในมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเทรนโต ประเทศอิตาลี พบว่า เด็กสามารถพัฒนาการอ่านในระยะยาวได้ ด้วยการเล่นวิดีโอเกมแอ๊กชั่นเพียง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
การศึกษาข้างต้น ซึ่งตีพิมพ์ในนิตรสารเนเจอร์ ฮิวแมน บีเฮฟวิเออร์ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ม.ค. แบ่งเด็กนักเรียนอิตาลี อายุ 8-12 ขวบ จำนวน 150 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเล่นวิดีโอเกมแอ๊กชั่นที่คณะนักวิจัยสร้างขึ้นมา อีกกลุ่มเล่นวิดีโอเกมที่ออกแบบมาเพื่อสอนให้เด็กรู้จักวิธีเขียนโค้ด (โค้ดดิ้ง)
เกมแอ๊กชั่นดังกล่าวจำลองแง่มุมดั้งเดิมบางส่วนของเกมที่ออกแบบมาสำหรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่แต่ไร้ความรุนแรง และต้องการให้เด็กไขปริศนาและความท้าทายอื่นในกรอบเวลาหนึ่ง
คณะนักวิจัยระบุว่า แม้ว่เกมแอ๊กชั่นดังกล่าวจะไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสอนให้เด็กรู้จักการอ่าน แต่ยังทดสอบทักษะจำเป็นสำหรับการเรียนรู้แข็งแกร่ง เช่น ความจำในการทำงาน และความยืดหยุ่นในการรับรู้
“การอ่านทำให้กลไกสำคัญอื่นๆ ทำงาน ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องนึกถึง เช่น การรู้วิธีขยับสายตาบนหน้ากระดาษ หรือวิธีการใช้ความจำในการทำงานเพื่อเชื่อมโยงคำต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นประโยคที่สอดคล้องกัน” แดฟนี บาเวลีเยร์ ศาสตราจารย์จิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ระบุ
คณะนักวิจัยให้เด็กเล่นเกม 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ภายใต้การดูแลที่โรงเรียนเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และพบว่า หลังระยะเวลาการวิจัยได้ไม่นาน เด็กเล่นเกมแอ๊กชั่นมีพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญในความเร็วและความแม่นยำในการอ่าน และการใส่ใจในรายละเอียด ขณะที่เด็กเล่นเกมโค้ดดิ้งกลับไม่ได้แสดงพัฒนาการแบบเดียวกัน
อันเกลา ปัสกัวลอตโต ผู้เขียนคนแรกของการศึกษาและนักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ความรู้ความเข้าใจ (Department of Psychology and Cognitive Science) มหาวิทยาลัยเทรนโต ประเทศอิตาลี กล่าวว่า คณะนักวิจัยพบการควบคุมสมาธิ (attentional control) เพิ่มขึ้น 7 เท่าในเด็กที่เล่นวิดีโอเกมแอ๊กชั่นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เล่นเกมโค้ดดิ้ง
“สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการศึกษาครั้งนี้คือว่าเราทำการทดสอบประเมินเพิ่มเติมอีก 3 ครั้งในระยะเวลา 6 เดือน 12 เดือน และ 18 เดือน หลังการฝึกในแต่ละโอกาส เด็กที่ได้รับการฝึกฝนทำผลงานดีกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า การพัฒนาเหล่านี้ยังอยู่อย่างยั่งยืน” อันเกลา ปัสกัวลอตโต กล่าว
อ่านข่าวเพิ่มที่ ข่าวสด