คุมเข้มโควิดอย่างไร ใกล้เปิดเทอมแล้ว
สถานการณ์ต่างๆ ที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้เริ่มมีการวางแนวทางปฏิบัติตามหลักสาธารณสุข และมาตรการเฝ้าระวัง เพื่อเตรียมกลับมาเปิดการเรียนอีกครั้ง เดือน พย.นี้ http://winne.ws/n28131
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง “มาตรการ Sandbox ในโรงเรียน sandbox safety zone in school” ว่าจากการนำร่องเปิดเรียน on site ในโรงเรียนประจำ เพื่อปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขที่ตั้งไว้ พบว่า เป็นไปอย่างดี โรงเรียนแม้พบผู้ติดเชื้อ แต่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยของโรงเรียน แต่ไปสัมผัสคนติดเชื้อนอกโรงเรียน และตรวจจับได้ ดังนั้นจึงมีการหารือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยถึงแนวทางเตรียมการจัด sandbox safety zone in school เพื่อรองรับการเปิดเรียนให้สอดรับกับสถานการณ์ในพื้นที่ และแนวทางของศบค. ดังนี้ 1. พื้นที่สีเขียว มี 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้มข้นของสถานศึกษา โดยบุคลากร นักเรียนได้รับวัคซีนไม่น้อยกว่า 85% มีการประเมินความเสี่ยงอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ 2.พื้นที่สีเหลืองมาตรการคงตามพื้นที่สีเขียว แต่เพิ่มการสุ่มเฝ้าระวังด้วยการตรวจ ATK 1 ครั้ง ใน 14 วัน ประเมินความเสี่ยง 1 วันต่อสัปดาห์
3.พื้นที่สีส้ม ต้องปฏิบัติตามข้อ 1- 2 และจะเพิ่มการประเมินความเสี่ยงบุคคลถี่ขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 4. พื้นที่สีแดง ต้องปฏิบัติตามข้อ 1- 2 และเพิ่มมาตรการเข้ามาอีก 3 ข้อ คือ ให้สถานประกอบกิจการ กิจกรรมรอบสถานศึกษาระยะ 10 เมตร ต้องผ่านการประเมิน covid free setting ต้องจัด school pass ครูและนักเรียน มีการประเมินตนเอง 3 วันต่อสัปดาห์ หรือประวัติการได้รับวัคซีน หรือประวัติที่เคยติดเชื้อมาก่อนในช่วง 1-3 เดือน และ ต้องจัดกลุ่มนักเรียนต่อห้องไม่ให้แออัด ไม่เกิน 25 คน ต่อขนาดห้องเรียนปกติ ส่วนการตรวจ ATK 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ รวมถึงการเข้าถึงวัคซีนนั้นนักเรียนจะได้รับเพิ่มขึ้นตามมาตรการของกรมควบคุมโรค และ 5.พื้นที่สีแดงเข้ม ต้องทำมาตราทั้งหมดให้ครบถ้วน ต้องตรวจ ATK 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และการประเมินความเสี่ยงบุคคลต้องทำทุกวัน ทั้งครู นักเรียน บุคลากร
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับ 7 มาตรการเข้มข้นของสถานศึกษา กรณีโรงเรียนไป – กลับ คือ 1. สถานศึกษาประเมินความพร้อมในการเปิดเรียนผ่าน Thai stop covid plus และรายงาน ติดตามผลผ่าน MOECOVID ของกระทรวงศึกษา 2. ทำกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ พยายามไม่ให้สัมผัสข้ามกลุ่ม 3. อาหารเน้นสุขาภิบาลอาหาร 3.การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามมาตรฐาน เพราะหลายกรณีที่พบติดเชื้อในโรงเรียนเกิดจากความแออัดให้องเรียนโดยเฉพาะป้องปรับอากาศ 5. จัด School Isolation และมีแผนเผชิญเหตุโดยร่วมกับสาธารณสุขในพื้นที่ มีการซักซ้อมด้วย 6.ควบคุมการเดินทางจากบ้าน – โรงเรียนให้ปลอดภัย
7.จัด School Pass ทั้งครูและนักเรียน ที่ต้องมีผลการประเมินความเสี่ยงบุคคล ผลการตรวจ ATK หรือประวัติการได้รับวัคซีน หรือประวัติที่เคยติดเชื้อมาก่อนในช่วง 1-3 เดือน ส่วนโรงเรียนประจำพบติดเชื้อเพราะไม่ปฏิบัติตามมาตรการโรงเรียนประจำ ครูไปกลับ แต่ไม่คัดกรองความเสี่ยง ไม่มีระบบ sandbox safety zone in school และเข้มข้นการควบคุมในหอพักเพราะพบว่ามีความแออัด
“การเปิดเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ต่อนักเรียนด้วยกัน ปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม และมีหลายกิจกรรมที่ไม่สามารถให้เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อเปิดเรียนต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค สิ่งสำคัญคือความร่วมมือของโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อให้การเปิดเรียนมีความปลอดภัยต่อนักเรียน และคนที่บ้าน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ขอบคุณภาพและเนื้อหาบางส่วนจาก สสส