'ครุศาสตร์ มจร'เร่งปรับหลักสูตร สอนพุทธยุคดิจิทัลป้องดิสรัปชั่น
หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน เนื่องจากเนื้อหาคำสอนของพระพุทธศาสนามีความดีความงามความจริงอยู่แล้ว แต่ต้องปรับวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมตามทฤษฎีการสื่อสาร http://winne.ws/n26525
วันที่ 18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมสิริอักษณ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร.หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวและผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มจร เป็นประธานประชุมหารือแนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (ปริญญาโททางการศึกษาหรือวิชาชีพครู)
โดยมีพระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม,รศ.ดร., พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล, ผศ.ดร.พระครูพิมลธรรมภาณ, พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ, ดร.ดร.พิธพิบูรณ์ กาญจนพิพิธ, ผศ.ดร.พรทิพย์ วรรณวิโรจน์ และอาจารย์สายหยุด มีฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วมประชุม
พระปราโมทย์ ได้เสนอมุมมองว่า หลักสูตรต่างๆ ถ้าไม่ปรับตัวให้เหมาะกับยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของดิจิทัลก็จะถูกดิสรัปชั่น (Disruption) ซึ่งจะมีหลักสูตรอื่นเข้ามาแทนที่ ดังนั้น หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน เนื่องจากเนื้อหาคำสอนของพระพุทธศาสนามีความดีความงามความจริงอยู่แล้ว แต่ต้องปรับวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมตามทฤษฎีการสื่อสาร S-M-C-R
จากการเสวนาล่าสุดมีการพูดถึงเพจเด็กอยากทำกิจกรรม ซึ่งมีการตั้งคำถามว่า สิ่งใดที่โรงเรียนจัดให้แล้วแต่เด็กไม่อยากได้ คำตอบคือ วิชาพระพุทธศาสนาหรือวิชาศีลธรรม ซึ่งเป็นคำตอบที่ต้องกลับมาทบทวนว่า เพราะเหตุใดวิชาพระพุทธศาสนาหรือวิชาศีลธรรมจึงเป็นคำตอบของเด็กนักเรียนที่ไม่อยากเรียน จึงเป็นที่มาว่า ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มจร จึงต้องกลับมาทบทวนประเด็นทางสังคมว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร วิธีการแก้ไขควรจะเป็นอย่างไร เรียกว่า ถ้าปรับคือรอดถ้าเงียบคือร่วง
จึงเสนอมุมมองต่อที่ประชุมว่า ควรมีการโฟกัสกรุ๊ปครั้งยิ่งใหญ่ภายใต้คำว่า จัดหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรให้โดนใจคนยุคดิจิทัล โดยการระดมมุมมองจากผู้มีความเชี่ยวชาญเชิงทฤษฏีและเชิงการปฏิบัติในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านพระไตรปิฏก ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านจิตวิทยา ด้านการโค้ช ด้านวิทยากรฝึกอบรม ด้านการออกแบบกิจกรรม ด้านพุทธสันติวิธี ด้าน FA-AL(facilitator-Active Learning) และด้านพระพุทธศาสนา เป็นต้น
รวมถึงนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา พระธรรมทูต พระสอนศีลธรรม พระวิทยากรฝึกอบรม พระธรรมวิทยากร วิทยากรกระบวนการ ผู้แทน สพฐ. กระทรวงศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อมาช่วยสะท้อนมุมมองในการมองว่าการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรให้โดนใจคนยุคดิจิทัล จะต้องฟังบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บุคคลที่จะได้รับผลกระทบจากการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และมีความเชี่ยวชาญ โดยล่าสุดนั้น สพฐ.ได้มีการปฏิรูปการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนซึ่งมีการตอบโจทย์มาก ภายใต้คำว่า การเรียนการสอนที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน ในโรงเรียนของ สพฐ. ทั่วประเทศ
อ่านต่อที่ https://www.banmuang.co.th