22 มิ.ย.62 วัดทุ่งเสลี่ยมจัดงานใหญ่ บุญชัก'พระธรรมสามิราชศาสดา' ขึ้นอุโบสถหลังใหม่

พระธรรมสามิราชศาสดา" หน้าตักกว้าง 108 นิ้ว เป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ของ วัดทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต เมตตาตั้งนามมงคลพระประธานให้ http://winne.ws/n26234

1.3 พัน ผู้เข้าชม
22 มิ.ย.62 วัดทุ่งเสลี่ยมจัดงานใหญ่ บุญชัก'พระธรรมสามิราชศาสดา' ขึ้นอุโบสถหลังใหม่

        ทั้งนี้ได้ ประกอบพิธีเททอง ด้วยพลังศรัทธาของ ตะกูล "สื่อไพศาล" นำโดย นายปิยวัฒน์ สื่อไพศาล นางวรรณ สื่อไพศาล นางสาวนกฤศธนฏา สื่อไพศาล และ นายพสิษฐ์ สื่อไพศาล เป็นประธานเททอง

       พระครูสุเขตสุทธาลังการ (อลงกรณ์ อนาลโย) เจ้าอาวาส วัดทุ่งเสลี่ยม  บอกว่า พระธรรมสามิราชศาสดา เป็น พระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์ทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสุโขทัยทรงเครื่องใหญ่ สมัยอยุธยาตอนปลาย 

22 มิ.ย.62 วัดทุ่งเสลี่ยมจัดงานใหญ่ บุญชัก'พระธรรมสามิราชศาสดา' ขึ้นอุโบสถหลังใหม่

        องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศ เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท  โดยมีพุทธลักษณะคล้ายกับ พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปทรงเครื่อง ยังมีความหมายในหลาย 'นัย' เช่น เรื่องการรวมร่างกษัตริย์ให้เป็นเทวราชา

       การนับถือพระพุทธเจ้าว่าอยู่ในวรรณะกษัตริย์ และยังเป็นการอธิบายความว่า กษัตริย์ของสยามประเทศเป็น 'หน่อพระพุทธเจ้า' หรือผู้สืบเชื้อสายจากพระพุทธองค์โดยตรง เป็นต้น

       ในสยามประเทศ การสร้าง พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 24 โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย และ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ 'พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย' เป็นพระพุทธรูปที่มีเค้าโครงศิลปะบาปวน ศิลปะบายน อาจทำเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก หรือ ‘พระชัยพุทธมหานาถ’ 

22 มิ.ย.62 วัดทุ่งเสลี่ยมจัดงานใหญ่ บุญชัก'พระธรรมสามิราชศาสดา' ขึ้นอุโบสถหลังใหม่

       ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงโปรดฯ ให้จำหลักขึ้นทั้งหมด 23 องค์ และพระราชทานไปประดิษฐานยังที่ต่างๆ ในขอบเขตของพระราชอำนาจ เช่น ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นต้น โดยมาปรากฏอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยา มีการแต่งองค์ทรงเครื่อง เช่น สวมเทริด หรือศิราภรณ์ มีกุณฑล (ตุ้มหู) สังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา รองพระบาท ฯลฯ แต่ยังไม่เต็มยศ

       สำหรับ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่' เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางเรื่อยมา องค์พระพุทธรูปจะทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศมากขึ้น เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท อย่างอลังการ เช่น พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

22 มิ.ย.62 วัดทุ่งเสลี่ยมจัดงานใหญ่ บุญชัก'พระธรรมสามิราชศาสดา' ขึ้นอุโบสถหลังใหม่

อ่านต่อที่  www.banmuang.co.th

แชร์