เส้นทางสายไหมโบราณ สู่เส้นทางสายไหมดิจิตัล เส้นทางใหม่แทนที่การพึ่งพิงอเมริกา
Digital Silk Road จีนมีโครงการที่จะขยายเครือข่ายระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดบนโลกให้ครอบคลุมทั่วประเทศจีนและอีก 60 ประเทศตลอดเส้นทางสายไหม โดยใช้ระบบของ BDS จากประเทศจีน http://winne.ws/n24761
ภาพเส้นทางสายไหมสีแดงหมายถึงเส้นทางทางบก ส่วนสีฟ้าเป็นเส้นทางทางทะเล
เส้นทางสายไหมมีความยาว 6,437 กิโลเมตร ได้ชื่อมาจากการค้าผ้าไหมจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นหรือ 206 ปีก่อนคริสตกาล
ช่วงระหว่างฉนวนฉางอาน-เทียนชาน ถูกจัดให้เป็นเส้นทางสายไหมที่เป็นมรดกโลก
ในปี 2013 ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เริ่มประกาศแนวคิดเส้นทางสายไหมบนบกและเส้นทางสายไหมทางทะเล กลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเรื่อง One Belt One Road
จีนมีแผนสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมตลอดเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 แต่ไม่ได้จำกัดเฉพาะส่วนที่อยู่ในประเทศจีนเท่านั้น หมายถึงทุกประเทศที่เส้นทางสายไหมพาดผ่าน
ประเทศไหนต้องการสร้างหรือปรับปรุง ท่าเรือ ถนน ทางรถไฟ และท่อส่งก๊าซและน้ำมัน หากขาดแคลนทุนและเป็นโครงการที่อยู่บนเส้นทางสายไหม สามารถไปขอสนับสนุนจากจีนได้ มีโอกาสจะได้เงินทุนมาก เพราะตรงกับยุทธศาสตร์ชาติจีน
เงินทุนจากจีนก็มักจะผูกพันด้วยเงื่อนไขให้บริษัทจีนเป็นผู้สร้างหรือร่วมพัฒนา แล้วมันก็กลายเป็นรายได้มหาศาลกลับเข้ากระเป๋าจีนอีกที แต่หมายถึงความเจริญที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศด้วย
แผนการฟื้นฟูเส้นทางสายไหม เป็นโครงการที่ครอบคลุม 65% ของประชากรโลก คิดเป็นหนึ่งในสามของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของทั้งโลกรวมกัน สามารถใช้เส้นทางนี้ขับเคลื่อนย้ายสินค้าได้มากถึงหนึ่งในสี่ของโลก
ในยุคนี้ไม่ใช่แค่ขายผ้าไหมเหมือนสมัยจีนโบราณ แต่หมายถึงกองทัพสินค้าสารพัดอย่างจากประเทศจีนซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตสินค้าของโลก
เส้นทางสายใหม่ยุคใหม่เป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก การฟื้นฟูพัฒนานอกประเทศโดยจีน หมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนด้วย กองทัพสินค้าที่ใช้เส้นทางนี้ส่วนใหญ่ต้องเป็นสินค้าจีนแน่ๆ
นอกจากการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมแล้ว จีนยังรุกคืบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการสื่อสารด้วย และเป็นที่มาของ Digital Silk Road
อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นหมายความว่า จีนต้องการเป็นผู้ควบคุมหรือมีอิทธิพลหลักของการสื่อสารในภูมิภาคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงเครือข่ายด้านอินเตอร์เน็ต มันจะส่งผลกระทบโดยตรงกับความก้าวหน้าของบริษัทเทคฯจีนยุคใหม่
ในปัจจุบัน เครือข่ายการสื่อสารที่อยู่ บนดิน บนบก หรือดาวเทียม ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของอเมริกา จีนแสดงความตั้งใจชัดเจนว่าต้องการเข้ามาแทนที่สหรัฐอเมริกา
ประเทศไหนในภูมิภาคนี้ที่อยู่บนเส้นทางสายไหม หากต้องการพัฒนาระบบการสื่อสารในประเทศของตัวเอง ไปคุยกับจีนได้ มีเงินทุนสนับสนุนให้ค่อนข้างแน่ แต่ก็จะมี ZTE, Huawei, China Telecom หรือบริษัทเทคโนโลยีการสื่อสารจีนเป็นคู่ค้าแถมมาให้ด้วย
มีตัวอย่างมากมายของโครงการระบบการสื่อสารที่จีนต้องการมีอิทธิพลควบคุมในเส้นทางสายไหม
เริ่มตั้งแต่ Global Navigation Satellite System ซึ่งเป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก สามารถบอกตำแหน่งพิกัดผู้ใช้เครื่องมือสื่อสารได้ พวกเราคงคุ้นเคยกับ US Global Positioning System หรือ GPS มันเป็นระบบบอกพิกัดที่สร้างโดยอเมริกาและเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศจีนในปัจจุบันด้วย
GPS ไม่ใช่ผู้ให้บริการรายเดียวในโลก ยังมีผู้ให้บริการรายอื่นอีก เช่น BDS, GNSS, GLONASS
ตามแผน Digital Silk Road จีนมีโครงการที่จะขยายเครือข่ายระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดบนโลกให้ครอบคลุมทั่วประเทศจีนและอีก 60 ประเทศตลอดเส้นทางสายไหม โดยใช้ระบบของ BDS จากประเทศจีน
ภายในปี 2020 จีนจะปล่อยดาวเทียมให้ได้ 35 ดวง และจะไม่พึ่งพาระบบ GPS ของอเมริกาอีกต่อไป นอกจากเพื่อการค้าของจีนแล้ว ยังเป็นเรื่องของความมั่นคงทางการทหารที่มีเพิ่มขึ้นด้วย
จีนได้โปรโมทโครงการเส้นทางสายไหมดิจิตอลไปสู่ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ และเมื่อเร็วๆนี้ได้ประกาศความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาหรับในงาน China-Arab States cooperation Forum หรือ CASCF
ในปี 2015 China Development Bank และ Commercial Bank of China ให้เครดิตไลน์เป็นเงินกู้ยืมกับ Bharti Airtel ผู้ให้บริการด้านเทเลคอมรายใหญ่ที่สุดในอินเดีย สำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารในอินเดีย และในโครงการนี้ใช้เอาท์ซอซอุปกรณ์สร้างเครือข่ายจาก Huawei และ ZTE
ประเทศไทยก็คงได้ Huawei เป็นคู่ค้าช่วยวางระบบอินเตอร์เน็ต 5G ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า
ไฟเบอร์อ๊อพติกเคเบิลซึ่งเป็นช่องทางการส่งผ่านข้อมูลและระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศมากถึง 98% ในปัจจุบันอเมริกามีบทบาทสำคัญที่สุด ทำให้รัฐบาลจีนในปักกิ่งกังวลเรื่องความมั่นคง อย่างกรณีของโครงการ Pakistan-China Fibre Optic จีนเลยผลักดันเต็มที่ให้ใช้เคเบิลใต้น้ำในทะเลซึ่งเป็นระบบของจีน
การประมูลสร้างโครงข่ายการสื่อสารในภูมิภาคนี้ของหลายประเทศตลอดเส้นทางสายไหม ส่วนใหญ่ก็พบว่าบริษัทจีนเป็นผู้ชนะการประมูลเพราะมีราคาต่ำกว่าคู่แข่งมาก
ทรัมป์ ออกมากล่าวหารัฐบาลจีนอยู่บ่อยๆว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนบริษัทเทคฯจีน ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
ถ้าอยู่ในฐานะผู้นำอเมริกา จะมองเห็นภาพชัดเจนว่าแผนการอนาคตเกี่ยวกับเส้นทางสายไหมของจีน เป็นภัยคุกคามทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของอเมริกา และคงไม่มีการยอมกันง่ายๆแน่
สงครามการค้าที่อเมริกาเปิดฉากเล่นงานจีนอยู่ในวันนี้ น่าจะมีเรื่องของเส้นทางสายไหมเป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังด้วย
…/china-is-building-a-new-silk-road…
http://www.theworldin.com/…/14…/edition2018digital-silk-road
https://www.orfonline.org/…/43102-from-silk-threads-to-fib…/
http://www.theworldin.com/…/14…/edition2018digital-silk-road
https://www.economist.com/…/china-talks-of-building-a-digit…