การแก้กรรมในสมัยพุทธกาล
การแก้กรรมก็คือ " การทำให้ตนพ้นจากกรรม ไม่ต้องรับผลกรรม " การแก้กรรมมีทั้งวิธีการที่ถูกต้อง มีทั้งวิธีการที่หลอกลวง ก็อยู่ที่ผู้จะแก้กรรม จำต้องมีวิจารณญาณค่อนข้างสูงจึงจะสมประสงค์ ในพระพุทธศาสนาก็มีเรื่องการแก้กรรมนี้เช่นกัน http://winne.ws/n23435
แก้กรรม..
" #การสะเดาะเคราะห์ "
#การแก้กรรม ที่เข้าใจกัน. เป็นการกระทำ. เพื่อป้องกันกรรม มิให้กรรมให้ผล เพื่อมิให้ต้องมารับผลกรรม ซึ่งทำให้เดือดร้อน. หรือเมื่อกรรมให้ผลอยู่ ก็ให้กรรมนั้นหมดไป ไม่มีผลอะไรติดค้างอยู่อีก
กล่าวง่ายๆว่า การแก้กรรมก็คือ การทำให้ตนพ้นจากกรรม ไม่ต้องรับผลกรรม
การแก้กรรมมีทั้งวิธีการที่ถูกต้อง. มีทั้งวิธีการที่หลอกลวง ก็อยู่ที่ผู้จะแก้กรรม จำต้องมีวิจารณญาณ. ค่อนข้างสูง. จึงจะสมประสงค์
ในพระพุทธศาสนาก็มีเรื่องการแก้กรรมนี้เช่นกัน แต่ไม่ได้เรียกว่า "แก้กรรม " เรียกว่า " ทำบุญ "
เหมือนการทำบุญอื่นๆ. ผลที่ได้รับเหมือนกับเป็นการแก้กรรม. เพราะได้รับผลพ้นจากอดีตกรรมได้จริง...
พระพุทธองค์ ได้ตรัสเล่าถึงบุพกรรมของพระนางที่ทำให้เป็นโรคผิวหนัง
เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองกบิลพัสดุ์
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ที่ #นิโครธาราม เมือง #กบิลพัสดุ์ ท่านพระอนุรุทธะ. ซึ่งเป็นพระเถระศักยะราชสกุลได้ไปเมืองกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก. เหล่าพระญาติศักยะ. เมื่อทราบว่า ท่านมา จึงพากันไปหา. เว้นเจ้าหญิงโรหิณี ผู้เป็นพระภคินีของพระเถระมิได้มาด้วย
พระเถระให้คนไปเชิญพระนางมาพบ เมื่อพระนางมาแล้วพระเถระได้ถามว่า...เพราะเหตุไรจึงไม่มาพบ.
เมื่อพระนางตอบว่า.. รู้สึกละอาย. เพราะตนเป็นโรคผิวหนัง น่ารังเกียจ
พระเถระจึงชักชวนให้พระนาง " ทำบุญ " ด้วยการสร้างโรงฉัน เพื่อจะได้หายจากโรค เมื่อพระนางตกลงจึงมอบหมายให้พวกพระญาติช่วยกันดำเนินการ โดยเจ้าหญิงโรหิณีเป็นเจ้าภาพ ด้วยการขายเครื่องประดับได้ราคา ๑๐,๐๐๐ มาเป็นทุน
พระเถระ...บอกให้สร้างโรงฉันเป็น ๒ ชั้น แนะนำให้ #เจ้าหญิงโรหิณี. คอยมาปัดกวาด พื้นชั้นล่างที่ทำเสร็จแล้ว สม่ำเสมอ ให้ปูอาสนะไว้. สำหรับพระสงฆ์ประจำ ให้ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้ประจำ พระนางก็ทรงปฏิบัติตามนั้น พระสงฆ์ก็มานั่งกันเป็นประจำ เมื่อทำชั้น ๒ เสร็จพระนางก็ปัดกว่าชั้นล่างชั้นบนให้สะอาดเป็นประจำ จนต่อมาไม่นานโรคผิวหนังก็ค่อยๆหายราบไป....
การแก้กรรมที่เป็นโรคผิวหนัง ด้วยการสร้างโรงฉันและปรนนิบัติปัดกวาดก็เป็นอันสิ้นสุด..
พระพุทธองค์ ได้ตรัสเล่าถึงบุพกรรมของพระนางเอาไว้ว่า
" โรหินี ก็กรรมในอดีตนั้น เธอได้ทำไว้แล้ว ความโกรธก็ดี ความริษยาก็ดี แม้เพียงเล็กน้อย. เป็นสิ่งไม่ควรทำเลย ทีเดียว " ดังนี้
บุรพกรรมของพระนางโรหิณี...
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสแก่พระนาง) ว่า :- " ในอดีตกาล พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตในหญิงนักฟ้อนของพระราชาองค์หนึ่ง ทรงดำริว่า " เราจักให้ทุกข์เกิดแก่หญิงนั้น " แล้วให้เขานำลูกเต่าร้างใหญ่มา รับสั่งให้เรียกหญิงนักฟ้อนนั้นมายังสำนักของตนแล้ว ให้ใส่ผงเต่าร้างบนที่นอน ที่ผ้าห่ม และที่ระหว่างเครื่องใช้ มีผ้าปูที่นอนเป็นต้นของหญิงนักฟ้อนนั้นโดยประการที่นางไม่ทันรู้ตัว. โปรยลงแม้ที่ตัวของนาง ราวกะทำความเย้ยหยันเล่น ทันใดนั้นเอง สรีระของหญิงนั้นได้พุพองขึ้นเป็นตุ่มน้อยตุ่มใหญ่. นางเกาอยู่ไปนอนบนที่นอน. เมื่อนางถูกผงเต่าร้างกัดแม้บนที่นอนนั้น เวทนากล้ายิ่งนักเกิดขึ้นแล้ว. พระอัครมเหสีในกาลนั้นได้เป็นพระนางโรหิณี.
พระนางโรหิณีเป็นโรคผิวหนังด้วยบุพกรรมกลั่นแกล้งหญิงนักฟ้อนให้ทุกข์ทรมานด้วยหมามุ่ย
เต่าร้าง แปลว่า หมามุ้ยใหญ่
แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
" โกธํ ชเห. วิปฺปชเหยฺย. มานํ
สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ฯ
บุคคลพึงละความโกรธ พึงทิ้งความถือตัว. พึงก้าวล่วงสังโยชน์ให้หมดทุกอย่าง. ทุกข์ทั้งหลายจะไม่ตกต้องเขา ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป. ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้กังวล "
จากเรื่องเจ้าหญิงโรหิณี โกธวรรค. อรรถกถาธรรมบท
ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กนาควีโร ภิกขุ ศิริ