"นักวิจัยเผยจุดซึ่งมีฟ้าผ่ามากที่สุดในโลก"

มีคำกล่าวที่ว่าฟ้าไม่เคยผ่าลงมายังจุดเดิมเป็นครั้งที่สอง แต่ใครก็ตามที่กล่าวแบบนั้นจะอาจต้องเปลี่ยนความคิด เมื่องานวิจัยใหม่ที่ถูกนำเสนอ แสดงให้เห็นว่ามีตำแหน่งหนึ่งในทะเลสาบที่เวเนซุเอลา ได้รับสายฟ้าจากฟ้าผ่าถึง 297 วันจาก 365 วันในแต่ละปี http://winne.ws/n10072

1.7 พัน ผู้เข้าชม
"นักวิจัยเผยจุดซึ่งมีฟ้าผ่ามากที่สุดในโลก"แหล่งภาพจาก www.bloggang.com

          นักวิจัยเผยจุดซึ่งมีฟ้าผ่ามากที่สุดในโลก

          มีคำกล่าวที่ว่าฟ้าไม่เคยผ่าลงมายังจุดเดิมเป็นครั้งที่สอง แต่ใครก็ตามที่กล่าวแบบนั้นจะอาจต้องเปลี่ยนความคิด เมื่องานวิจัยใหม่ที่ถูกนำเสนอในการประชุมฤดูใบไม้ร่วงสมาคมฟิสิกส์อเมริกันในฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ามีตำแหน่งหนึ่งในทะเลสาบที่เวเนซุเอลา ได้รับสายฟ้าจากฟ้าผ่าถึง 297 วันจาก 365 วันในแต่ละปี

          ทะเลสาบมาราไกโบเป็นที่รู้จักกันมานานว่ามีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับไฟฟ้าที่สูงมาก และปีก่อนหน้านี้ก็ถูกบันทึกในกินเนสบุ๊คว่าเป็นจุดที่มีอันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้ามากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามข้อมูลใหม่ที่นำเสนอโดยราเชล อัลเบรทแห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ได้ชี้ตำแหน่งที่แม่นยำซึ่งดึงดูดสายฟ้าฟาดปริมาณมหาศาลในทะเลสาบให้พวกเราได้ทราบกัน โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมที่บันทึกโดยอุปกรณ์บันทึกภาพซึ่งไวต่อแสง (Light Imaging Sensor หรือ LIS) จากดาวเทียม “อัลเบรชท์” ของนาซ่า ก็สามารถที่จะกำหนดตำแหน่งของฟ้าผ่าที่มีความแม่นยำมากขึ้นกว่าที่เคย ดาวเทียมนี้โคจรรอบโลกที่ความสูง 402 กิโลเมตร (250 ไมล์) อุปกรณ์บันทึกภาพของดาวเทียมที่มีความสามารถในการบันทึกภาพความละเอียดสูงที่มีความถูกต้องภายใน 0.1 องศาละติจูด

          การวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกไว้โดยอุปกรณ์บันทึกภาพซึ่งไวต่อแสงระหว่างปี 1998 และ 2013 ที่ดาวเทียมอัลเบรทและทีมงานประจำดาวเทียมก็สามารถระบุได้ว่าจุดเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบมาราไคโบไปยังแม่น้ำคาตาตัมโบเป็นจุดที่ฟ้าผ่าได้ง่ายมากที่สุดในโลก

          เหตุผลสำหรับสภาพภูมิอากาศแปรปรวนนี้สามารถอธิบายว่า  มาจากภูมิประเทศของพื้นที่โดยรอบ การตั้งอยู่ในเทือกเขาแอนดีส และยังอยู่ใกล้กับทะเลแคริบเบียน ทำให้ทะเลสาบนี้ได้รับอิทธิพลทั้งจากสายลมอบอุ่นจากทะเลและอากาศเย็นจากภูเขา ซึ่งเมื่อสองสิ่งนี้มาปะทะกัน ก็จะทำให้อากาศแปรปรวนจนเกิดพายุเป็นผลให้ทะเลสาบมีแนวโน้มที่จะได้สัมผัสกับฟ้าผ่าอันน่าสะพรึงจำนวนหลายครั้ง ซึ่งเมื่อเกิดพายุเต็มรูปแบบ อาจเกิดฟ้าผ่าได้ถึง 28 ครั้งในทุกหนึ่งนาที

          เรายังสามารถพบจุดที่มีอันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้าอื่นได้ในพื้นที่ที่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายกัน เช่น บนหมู่บ้านบนภูเขาของคิฟูกะในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งเกิดฟ้าผ่าถึง 232 ครั้งต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตรในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้เมืองนี่เป็นพื้นที่อันดับที่สองของการถูกฟ้าผ่า รองจากทะเลสาบมาราไกโบซึ่งถูกผ่าด้วยจำนวน 250 ครั้งต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตรต่อปี

          อ้างอิง : www.iflscience.com/environment/most-lightning-struck-spot-earth-has-been-pinpointed


          ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.vcharkarn.com/vnews/503868

แชร์