เบื้องหลังความสำเร็จของ GOOGLE !!!คือ การฝึกให้พนักงาน “เจริญสติ”
Mindfulness แปลว่า “สติ” ใช่ครับ ภาษาอังกฤษมันอาจจะฟังดูเท่ห์ๆ แต่จริงๆแล้วคือ “สติ” ที่เราคนไทยน่าจะคุ้นเคยคำนี้กันดีนั่นเอง เนื่องจากเราเป็นเมืองพุทธศาสนา http://winne.ws/n22680
ผมได้มีโอกาสไปเข้าร่วมโปรแกรม Google Launchpad Accelerator ที่ San Francisco มาเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ครับ โปรแกรมนี้เป็นโครงการที่ผมสมัครเข้าร่วมในนาม Priceza โดย Google ทำโปรแกรมนี้ในรูปแบบของ Accelerator Program ระดับโลก คือมีทีมสมัครเข้ามาจากทั่วโลก และ Priceza เป็นทีมจากประเทศไทยทีมเดียวที่ได้รับการเข้าร่วมในรุ่นนี้
ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ใช้ชีวิตในโปรแกรมนี้ ทางทีม Google Launchpad (ต่อไปขอเรียกย่อๆว่า LPA) จัดโปรแกรมเต็มตั้งแต่เช้า-เย็น ไม่ว่าจะเป็น Talk, Mentor Session, Workshop
หนึ่งใน Workshop ที่ทาง LPA จัดให้ผมได้เข้าร่วมมีชื่อว่า “Mindfulness”
ผมสงสัยมากเสียจนกระทั่งได้เดินไปถามทาง Melina ที่เป็น Google LPA Program Manager ว่ามันคืออะไร?
และคำตอบของเธอก็ทำให้ผมตัดสินใจไปเข้าร่วม Mindfulness Workshop
Mindfulness คืออะไร?
Mindfulness แปลว่า “สติ” ใช่ครับ ภาษาอังกฤษมันอาจจะฟังดูเท่ห์ๆ แต่จริงๆแล้วคือ “สติ” ที่เราคนไทยน่าจะคุ้นเคยคำนี้กันดีนั่นเอง เนื่องจากเราเป็นเมืองพุทธศาสนา
ผู้สอนในกิจกรรมนี้ชื่อว่า Monica Walsh เธอเป็นพนักงานของ Google และมีตำแหน่งเป็น Senior Program Manager ของ Google LPA
ผมได้เรียนรู้ว่า…
Google ส่งเสริมให้พนักงานในทุกระดับฝึกการเจริญสติครับ! (Mindfulness Meditation)
โปรแกรมฝึกการเจริญสติของ Google ถูกริเริ่มโดย Software Engineer คนแรกๆของ Google (พนักงานคนที่ 107) เป็นคนสัญชาติ Singapore ชื่อว่าChade-Meng Tan (หลายๆคนเรียกสั้นๆว่า Mr.Meng)
โปรแกรมนี้ถูกริเริ่มสอนให้พนักงาน Google ตั้งแต่ปี 2007 โปรแกรมชื่อ Search Inside Yourself และเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่เป็นที่นิยมที่สุดของบริษัท
Mr.Meng ปัจจุบันดังและเป็นที่รู้จักมากเสียจนกระทั่งเค้าออกจาก Google เพื่อมาตั้ง NGO ชื่อว่า Search Inside Yourself Leadership Institute เพื่อต้องการส่งเสริมการเจริญสติให้กับผู้คนทั่วโลก เพื่อเป้าประสงค์ใหญ่คือต้องการให้โลกนี้มีสันติสุข!
มันทำให้ผมค่อนข้างสงสัยใคร่รู้พอสมควรเลยล่ะ ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Technology อย่าง Google ที่ตอนแรกผมคิดว่าค่อนข้างห่างไกลกับเรื่องของสติ/สมาธิ กลับกลายเป็นว่าได้ใช้การเจริญสติให้เป็นประโยชน์ในการสร้าง Innovation ออกมาอย่างต่อเนื่องและมีอิทธิผลต่อโลกของเราอย่างมาก
สติ vs. นวัตกรรม?
โลกของ Hi Tech และ โลกของการเจริญสติ ไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเลย แต่มันกลับพัฒนาไปด้วยกันด้วยซ้ำ นั่นคือสิ่งที่ Google พิสูจน์ให้พวกเราได้เห็น
การเจริญสติสำคัญยังไง? และทำไมบริษัทอย่าง Google ถึงให้ความสำคัญถึงเพียงนี้?
Mr.Meng ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเค้าที่ชื่อว่า “Search Inside Yourself” ประโยชน์ของการฝึกสติตามหนังสือของเค้า จะช่วยให้ทำให้คุณมีทักษะที่สำคัญ 3 ประการ ที่ดีในการทำงาน
1) ประสิทธิภาพการทำงานของคุณจะดีขึ้นอย่างมาก
2) คุณจะมีทักษะความเป็นผู้นำที่โดดเด่นมากขึ้น
3) คุณจะมีความสามารถในการสร้างสถานะที่ทำให้เกิด “ความสุข”
ด้วย 3 ทักษะนี้ ผมคิดว่ามันสำคัญมากๆเลยกับองค์กรใดๆก็ตามบนโลกใบนี้ ที่จะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงสุด และนั่นเป็นเหตุผลที่ Google ส่งเสริมการฝึกเจริญสติให้กับพนักงาน Google ตั้งแต่ปี 2007 จนปัจจุบัน
การเจริญสติ แบบ Google คืออะไร?
Mindfulness = “Pay attention in a particular way, on purpose, in the present moment, non-judmentally”
สติ = การให้ความสนใจไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมีวัตถุประสงค์ เพ่งไปที่ปัจจุบันขณะ และอยู่ในรูปแบบที่ไม่ตัดสิน
นี่คือการให้คำจำกัดความของสติ จาก Mr.Meng
การเจริญสติ แบบ Google ทำอย่างไร?
หลายๆคนคงมีภาพที่เข้ามาในหัวของคุณผู้อ่าน คงเป็นการจัดนั่งสมาธิ นั่งกรรมฐานกันเป็นแน่แท้ แต่ในความเป็นจริง วิธีการเจริญสติแบบ Google ที่ริเริ่มโดย Mr.Meng นั้นไม่มีอะไรซับซ้อนเลยครับ มาดูกัน
วิธีการมีดังนี้
ใช้เวลาเพียงวันละ 1-2 นาที เป็นอย่างน้อย สำคัญคือ “ความต่อเนื่อง” และ คุณภาพของการฝึก
ให้เพ่งความสนใจของคุณไปที่ “ลมหายใจ” ในขณะที่คุณเจริญสติ
การฝึกสติ เหมือนการออกกำลังกาย คุณเรียนรู้มันได้จากการลงมือทำ ไม่ใช่จากการฟัง/อ่าน เมื่อคุณฝึกไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง คุณจะมีสติที่มากขึ้น เหมือนดั่งการออกกำลังกายที่ถ้าคุณฝึกไปเรื่อยๆมากพอ คุณจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากขึ้น
เมื่อคุณเพ่งไปที่ลงหายใจ เป็นปกติที่บางทีคุณจะวอกแวก คือจิตคิดไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ ให้คุณสังเกต และดึงมันกลับมา เป็นวงจรตามภาพด้านล่าง (การดึงกลับมาบ่อยๆแบบนี้ Mr.Meng บอกว่าดี เหมือนเวลาคุณฝึกยกดัมเบล ดึงกลับมาบ่อยๆแล้วคุณจะกล้ามขึ้น)
คุณฝึกไปเรื่อยๆ 100 นาที (วันละ 1 นาที ก็คือประมาณ 3 เดือน อย่างต่อเนื่อง) คุณจะเห็นผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง
ที่มา https://thanawat.co/2018/03/11/mindfulness-vs-innovation-key-success-behind-google/