เทศกาลโฮลี (Holi Festival) เทศกาลแห่งสีสันที่อินเดีย
เทศกาลโฮลี เป็นเทศกาลของชาวฮินดูซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อพิธีเป็นเชิงสัญลักษณ์ว่า การทำร้ายเบียดเบียนกันในสังคม ตลอดจนความชั่วร้ายต่างๆ จะถูกเผาทำลายไป ธรรมะมีชัยชนะเหนืออธรรม http://winne.ws/n22642
#เทศกาลโฮลี (Holi Festival) เทศกาลแห่งสีสันที่อินเดีย
เทศกาลแห่งสีสัน เรียกว่า #เทศกาลโฮลี (Holi Festival) ซึ่งถือเป็นเทศกาลสำคัญ และแปลกอย่างหนึ่งของโลกที่อินเดียค่ะ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม (สำหรับปี 2018 นี้จัดวันที่ 2 มีนาคม ที่
อินเดียตอนเหนือ/North India)
เทศกาลโฮลี เป็นเทศกาลของชาวฮินดูซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ปีละสองวันในช่วงเดือนมีนาคม เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า “#เทศกาลแห่งสีสัน” โดยทุกคนจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน หรืออาจจะสาดน้ำใส่กัน คล้ายๆ สงกรานต์บ้านเราเลยทีเดียว
รูปแบบของการเฉลิมฉลองเทศกาลโฮลี่นี้เทียบได้กับสงกรานต์ของไทย คือมีการสาดน้ำใส่กันแต่เป็นน้ำที่ผสมสีสันต่างๆ บ้างก็ไม่ใช้น้ำ แต่ใช้ผงสีซัดใส่กันหรือป้ายหน้าป้ายตัวกันอย่างสนุกสนาน นิยมเล่นกันในเวลาเช้าถึงเที่ยงวันก็เลิก ต่างคนต่างกลับบ้านไปอาบน้ำและพักผ่อน พอตกตอนเย็นจะออกมาพบปะสังสรรค์กัน แจกขนมหวานและสวมกอดกัน เทศกาลโฮลี่จึงถือเป็นเทศกาลแห่งมิตรภาพ มิตรสหายได้แสดงไมตรีเข้าสวมกอดกัน ผู้ที่เคยขัดแย้งกันก็จะได้ปรับความเข้าใจและคืนสู่มิตรภาพนั่นเอง
การเล่นสาดสีให้เลอะเทอะจนบางทีสีติดตัวติดเสื้อผ้า ล้างและซักไม่ออกนั้นสำหรับคนอินเดียก็มีความหมายที่ลึกซึ้งค่ะ ก็คือหมายถึงความเข้มแข็งของมิตรภาพที่จะอยู่ติดตรึงไปตลอดกาล ไม่มีวันจาง เสื้อผ้าที่ใส่เล่นโฮลี่จึงนิยมผ้าสีขาวและแม้จะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนด้วยสีต่างๆ แล้วก็จะไม่ทิ้ง
ในช่วงเย็นของวันแรกจะมีการจัดซุ้มกองไฟเพื่อทำพิธีบูชา โดยจัดไว้เฉพาะสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และมีลูกชายเท่านั้น เนื่องจากการบูชานี้ทำเพื่อสร้างสิริมงคล และปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากลูกชาย และสำหรับคู่แต่งงานใหม่ที่ยังไม่มีลูก ขอจะทำพิธีบูชาขอลูกชายในเทศกาลนี้ด้วยค่ะ และในวันที่สอง ทุกคนจะเล่นสาดสีและสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน บ้างก็เปิดเพลงเต้นรำกันอย่างคึกคัก
#ตำนานของเทศกาลโฮลี
ด้วยความเก่าแก่ของอารยธรรมอินเดีย และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้เทศกาลโฮลี ถูกเชื่อมโยงกับตำนานต่างๆ มากมาย เช่น เรื่องการเผานางโหลิกา น้องสาวของอสูรหิรัณยกศิปุ ในตำนานนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์, เรื่องการเล่นโฮลีอย่างสนุกสนานระหว่างพระกฤษณะกับนางโคปีทั้งหลาย เป็นต้น ดังนั้นในคืนก่อนวันโฮลีตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆ จะรวมกลุ่มกันจัดพิธีเผานางโหลิกา เพื่อพิธีเป็นเชิงสัญลักษณ์ว่า การทำร้ายเบียดเบียนกันในสังคม ตลอดจนความชั่วร้ายต่างๆ จะถูกเผาทำลายไป ธรรมะมีชัยชนะเหนืออธรรม
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10215604590369457&id=1281720771