ทำไม เด็กญี่ปุ่นจึงมั่นใจ และสามารถเดินทางไปกลับเองได้โดยลำพัง ?
น่าสนใจมาก ว่าทำไม หรือเพราะเหตุใด ภาพของเด็กตัวเล็ก ๆ เดินทางคนเดียวในญี่ปุ่นจึงเป็นภาพที่ดูเป็นเหตุการณ์ปกติที่พวกเขาคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี http://winne.ws/n1415
เด็กนักเรียนอายุ 7 ขวบ กำลังเดินทางไปโรงเรียนในโตเกียว
ทำไมเด็กเล็ก ๆในญี่ปุ่น จึงดูเป็นมั่นใจและพึ่งตัวเองได้ ?
ในญี่ปุ่น ภาพเด็กเล็ก ๆใช้สถานีรถไฟใต้ดิน และวิ่งไปทำธุระเพียงลำพัง โดยไม่มีพ่อแม่อยู่ในสายตานั้น มันมีเหตุผลในเรื่อง ความไว้วางใจกันในทางสังคมมากกว่าเรื่องเด็กสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยลำพัง
ชาวต่างชาติจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่นอาจจะรู้สึกตกใจที่เห็นเด็กนักเรียนญี่ปุ่นตัวเล็ก ๆ เดินไปและกลับจากโรงเรียนด้วยตัวเอง แม้กระทั่งเดินทางโดยรถไฟหรือรถเมล์คนเดียว ซึ่งภาพเหล่านี้อาจจะนำไปสู่อะไรที่มากกว่าการจ้องมองด้วยความรู้สึกกังวล หากมันเกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่ที่ญี่ปุ่นนี้มันเป็นเสมือนเหตุการณ์ปกติที่พวกเขาคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
มันเป็นเรื่องปกติมากที่จะเห็นเด็กตัวเล็ก ๆ ใช้ระบบขนส่งมวลชนญี่ปุ่นของญี่ปุ่นไปมาคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กำลังมองหาที่นั่ง พวกเขาสวมถุงเท้ายาวถึงเข่า รองเท้าหนังขัดมัน สวมเสื้อกันหนาวลายสก็อตและใส่หมวกปีกกว้างผูกเชือกไว้ใต้คาง เดินทางโดยรถไฟและอาจมีการสะพายเป้หลังไปด้วย เด็กพวกนี้มีอายุแค่หกหรือเจ็ดปีเท่านั้น แต่สามารถเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน โดยที่ไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลให้อยู่ในสายตา
เด็กนักเรียนหญิงกำลังเดินภาพในสถานีรถไฟใต้ดินในโตเกียว
ในประเทศญี่ปุ่น พ่อแม่มักจะส่งบุตรหลานไปเดินคนเดียวในถนนทั้งที่อายุยังน้อย มีรายการทีวีที่เป็นที่นิยมชื่อว่า Hajimete no Otsukai ซึ่งหมายความว่า"ภารกิจแรกของฉัน" โดยจะส่งเด็กตัวเล็ก ๆ สองหรือสามคน ออกไปทำอะไรบางอย่าง หรือไปทำธุระสำหรับครอบครัวของพวกเขาเอง เช่น คลำทางไปซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปร้านเบเกอรี่ หรือร้านผักผลไม้ โดยมีทีมงานแอบถ่ายทำอยู่อย่างเงียบ ๆ ซึ่งโปรแกรมนี้ที่ได้รับความนิยมและออกอากาศมานานกว่า 25 ปี
ในวีดิโอ ที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษนี้ มาจาก รายการ“ภารกิจแรกของฉัน” โดยมีพี่ชายและน้องสาวมุ่งหน้าออกไปซื้อของที่ร้านขายของชำเป็นครั้งแรก โดยไม่มีพ่อแม่ไปเป็นเพื่อน
ไคโตะคุง Kaito เด็กน้อยอายุ 12 ปี อาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว นั่งรถไฟด้วยตัวเองไประหว่างบ้านของพ่อและแม่ของเขาที่หย่าขาดจากกัน และแบ่งปันการดูแลในตัวเขา มาตั้งแต่เขาอายุเก้าขวบ "ตอนแรกผมก็กังวลใจเล็ก ๆ อยู่บ้าง" เขายอมรับ "ในการที่ผมจะนั่งรถไฟตามลำพังคนเดียว แต่มันก็เพียงแค่ชั่วขณะเท่านั้น"
ตอนนี้ เขาบอกว่า มันเป็นเรื่องง่ายมาก ซึ่งในตอนแรกๆ พ่อแม่ของเขาก็รู้สึกวิตกกังวลด้วยเช่นกัน แต่ชีวิตมันต้องเดินไปข้างหน้า และพวกเขารู้สึกว่าผมก็โตพอแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีเด็กคนอื่น ๆ จำนวนมาก ที่อายุใกล้เคียงกับผม ก็ทำเช่นเดียวกันได้อย่างปลอดภัย
"ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ดิฉันจำได้ว่าสิ่งที่ดิฉันคิดในเวลานั้น คือ รถไฟมีความปลอดภัย ตรงเวลาและง่ายในการเดินทาง นอกจากนั้นเขายังเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด"แม่เลี้ยงของไคโตะได้กล่าวเพิ่มเติมขึ้น (พ่อแม่ของเขาไม่เผยแพร่ชื่อและนามสกุลของเขาเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว)
"ดิฉันเดินทางด้วยรถไฟคนเดียว เมื่อดิฉันเป็นเด็กและอายุน้อยกว่าเขาในกรุงโตเกียว"แม่เลี้ยงของไคโตะยังจำได้ว่า "ในช่วงนั้นเรายังไม่ได้มีโทรศัพท์มือถือกันเลย แต่ดิฉันก็สามารถเดินทางจากจุด A ไปยังจุด B โดยรถไฟได้ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ถ้าเขาหลงทาง เขาสามารถโทรศัพท์กลับมาหาเราได้ในทันที "
เด็กผู้หญิงเดินทางในรถไฟใต้ดินเพียงลำพัง
อะไรคือสิ่งที่จะสามารถอธิบาย ความผิดปกตินี้ มันคือความเป็นอิสระ ความมั่นใจหรือ?
จริงๆแล้วมันไม่ใช่แค่เรื่องการพึ่งพาตัวเอง แต่ที่จริงแล้วมันคือ "การพึ่งพากลุ่ม" อธิบายโดย DwayneDixon นักมานุษยวิทยาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เกี่ยวกับ เยาวชนของญี่ปุ่น อธิบายว่า "เด็ก[ญี่ปุ่น] เรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่สมาชิกของชุมชนใด ๆ สามารถถูกเรียกร้องที่จะต้องให้บริการ และช่วยเหลือคนอื่น ๆ "
นอกจากนี้ สมมติฐานดังกล่าวได้ถูกตอกย้ำในโรงเรียนอีกด้วย โดยที่เด็ก ๆ จะผลัดกันในการทำความสะอาด และการให้บริการอาหารกลางวัน แทนที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้" การทำงานได้ถูกกระจายยังเด็กแต่ละคน และหมุนเวียนต่อๆกันไป ซึ่งพวกเขายังได้สอนให้ทุกคนให้เรียนรู้ในเรื่องของการทำความสะอาดห้องน้ำอีกด้วย "ดิกสันได้อธิบายเพิ่มเติม
การรับผิดชอบในพื้นที่ส่วนรวมที่ต้องใช้งานร่วมกันนั้น จะทำให้เด็กมีความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของ และยิ่งไปกว่านั้นในเชิงรูปธรรม เด็กจะเข้าใจในเรื่องผลของการรักษาความเป็นระเบียบ เนื่องจากพวกเขาจะต้องทำความสะอาดด้วยตัวของเขาเอง จริยธรรมในเรื่องนี้ถูกขยายไปสู่พื้นที่สาธารณะชนเป็นวงกว้างมากขึ้น (นั้นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ถนนในประเทศญี่ปุ่นมีความสะอาดมาก) ดังนั้นเมื่อ เด็กออกไปยังที่สาธารณะเพียงลำพัง เขารู้ดีว่าเขาสามารถพึ่งพาคนอื่น ๆได้ และสามารถขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
แน่นอนญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำมาก ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่พ่อแม่รู้สึกมั่นใจในการที่ส่งเด็กของพวกเขาออกมาตามลำพังในถนน อีกสิ่งที่สำคัญ ในเมืองเล็ก ๆ นั้น วัฒนธรรมของการเดิน การใช้ถนนและการใช้บริการของขนส่งมวลชนยังมีความปลอดภัยอย่างมาก และบางทีนั้นคือปัจจัยที่เป็นตัวช่วยส่งเสริมให้ความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยของพ่อแม่
"ขนาดของพื้นที่สาธารณะดีมากในที่นี่(ในญี่ปุ่น) นี่คือขนาดในแบบเก่า ที่เหมาะสมกับขนาดของตัวบุคคล ทำให้สามารถควบคุมของการไหลของการเดินทางและความเร็วของการเดินทางได้" ดิกสันกล่าวว่า ในเมืองญี่ปุ่นนั้น คนจะคุ้นเคยกับการเดินไปในทุกที่และใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากกว่าการใช้รถส่วนตัว ในกรุงโตเกียว ครึ่งหนึ่งของการเดินทางทั้งหมด คืออาศัยการโดยสารโดยรถไฟหรือรถบัส ส่วนอีกหนึ่งในสี่อาศัยการเดินเท้า นอกจากนั้นอุปนิสัยที่รู้จักแบ่งปันการใช้ ในพื้นที่สาธารณะบนถนนและทางเท้าเพื่อให้คนเดินเท้าและคนขี่รถจักรยานสามารถใช้งานร่วมกับคนอื่น ๆได้ ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
แม่เลี้ยงของไคโตะบอกว่า เธอจะไม่มีทางปล่อยเด็กอายุ 9 ขวบ เดินทางคนเดียวในสถานีรถไฟใต้ดินที่กรุงลอนดอน หรือในนิวยอร์ก (ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่จะบอกว่ารถไฟใต้ดินโตเกียวไม่มีอันตรายเลย ปัญหาเรื้อรังของการลวนลามผู้หญิงและเด็กผู้หญิง จนทำให้ในปี 2543 ได้นำไปสู่การเปิดตัวโบกี้ และรถบัสเฉพาะผู้หญิง ในสายที่ได้เลือกสรรแล้ว)
ในปัจจุบัน ยังมีเด็กจำนวนมากในอีกหลายๆ เมือง ยังคงนั่งรถไฟไปโรงเรียน และเดินทางไปทำธุระในเขตของพวกเขาโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
การฝึกให้เด็กมีความเป็นอิสระ และมั่นใจนี้ พ่อแม่ไม่เพียงแต่ไว้วางใจในตัวเด็กอย่างเต็มที่เท่านั้น แต่พวกเขายังมั่นใจในชุมชนทั้งหมดอีกด้วย "มีเด็กจำนวนมากที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อาศัยอยู่ทั่วโลก"ดิกสันกล่าวสรุป"ผมขอตั้งข้อสงสัย แต่สิ่งที่ชาวตะวันตกรู้สึกประทับใจ [ในญี่ปุ่น] นั้น มันคือความรู้สึกของความไว้วางใจและความร่วมมือที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่จำเป็นต้องพูดหรือร้องขอเลย"
ที่มา: แปลจากบทความของ SELENA HOY ที่ลงใน http://www.univision.com/noticias/citylab-latino/por-que-los-ninos-japoneses-son-tan-independientes
และลงใน
http://www.citylab.com/commute/2015/09/why-are-little-kids-in-japan-so-independent/407590/